เอาไม่อยู่! คันกั้นน้ำพังทะลักท่วมนิคมไฮเทคแล้ว


นิคมไฮเทค



เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม

คันกั้นน้ำพังทะลักท่วมนิคมอุตสาหกรรมไฮเทค ประตู 1 ด้าน จนท.เร่งเสริมต้านน้ำ พร้อมอพยพประชาชน กว่า 1,000 คน ออกจากพื้นที่

วันนี้ (13 ตุลาคม 2554) เวลาประมาณ 11.00 น. มีรายงานว่า ที่นิคมอุตสาหกรรมไฮเทค จ.พระนครศรีอยุธยา เกิดรอยรั่ว ทำให้มีน้ำไหลเข้าท่วมสูงประมาณ 30-40 เซนติเมตร เนื่องจากแรงดันน้ำอัดจนแนวกั้นน้ำรับไหมไหว โดยทางเจ้าหน้าที่ได้ประกาศแจ้งเตือนให้ประชาชนออกจากพื้นที่ให้หมด และสั่งห้ามรถทุกชนิดเข้าพื้นที่ ยกเว้นรถทหารที่จะทำหน้าที่อพยพคนเท่านั้น พร้อมทั้งเผยว่า เตรียมจะตัดน้ำและกระแสไฟฟ้าด้วย

อย่างไรก็ตาม ล่าสุด เมื่อเวลาประมาณ 12.00 น. มีรายงานว่า คันกั้นน้ำด้านทิศใต้ของนิคมอุตสาหกรรมไฮเทค ต.บ้านเลน อ.บางปะอิน จ.พระนครศรีอยุธยา ถูกน้ำกัดเซาะแล้วจนทำให้น้ำไหลทะลักเข้าท่วมทางเข้าประตูที่ 1 อย่างรวดเร็ว โดยในเวลาเกือบ 1 ช.ม. ระดับน้ำสูงร่วม 20 ซ.ม.

ทั้งนี้ คันกั้นน้ำด้านทิศใต้ของนิคมอุตสาหกรรมไฮเทคมีระยะทางยาวประมาณ 4 กม. ซึ่งถือว่าเป็นจุดเปราะบางที่อยู่ติดกับคลองที่เชื่อมต่อกับแม่น้ำเจ้าพระยา และดินสไลด์ได้ง่ายอยู่แล้ว เจ้าหน้าที่จึงได้เสริมคันกั้นน้ำอย่างเต็มที่ แต่ก็ยังไม่สามารถต้านทานแรงกระแสน้ำได้ ทำให้น้ำไหลทะลักเข้าท่วม ซึ่งขณะนี้มีประชาชนที่พักอาศัยอยู่ในหอพักด้านในนิคมอุตสาหกรรมร่วม 1,000 คน เจ้าหน้าที่ทหารได้ส่งรถจีเอ็มซีทยอยเข้าไปรับด้านในแล้ว พร้อมกันนี้ ทางด้านวิศวกรที่ดูแลการทำคันกั้นน้ำ ได้ประสานรถแบคโฮ เตรียมขุดดินเสริมคันกั้นน้ำจำนวนมาก


กิตติรัตน์ ณ ระนอง


ด้าน นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า จากปัญหาอุทกภัยที่เกิดขึ้นในขณะนี้นั้นยังไม่มีแนวโน้มที่จะยุติลง ทำให้ไม่สามารถประเมินภาพความเสียหายที่จะเกิดขึ้นได้ แต่ทั้งนี้มองว่า ปัญหาดังกล่าวจะมีผลกระทบต่ออัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (GDP) เกินกว่าที่เคยคาดการณ์ไว้ที่ร้อยละ 0.6 - 0.9 อย่างไรก็ตาม ยืนยันว่าทางรัฐบาลจะเร่งดำเนินการเพื่อไม่ให้ความเสียหายรุนแรงไปมากกว่านี้

นายกิตติรัตน์ กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า นอกจากนี้ ในวันจันทร์นี้ทางรัฐบาลจะเร่งหารือร่วมกับทุกภาคส่วน ในการหาแนวทางเพื่อเยียวยาภาคธุรกิจเอกชนที่ได้รับผลกระทบ ทั้งการหาวงเงินสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ รวมไปถึงการพักชำระหนี้ เพื่อเป็นการแบ่งเบาภาระจากปัญหาอุทกภัย




อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก



0 ความคิดเห็น:

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม