ท่าน้ำนนท์ น่าห่วง ฝนถล่มซ้ำ-น้ำสูงเข้าขั้นวิกฤติ












เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
ขอขอบคุณภาพประกอบจาก เฟซบุ๊ก คุณWitsanu Nunthakitpinyo

ท่าน้ำนนท์ เข้าขั้นวิกฤติ น้ำเพิ่มระดับสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว กระแสน้ำไหลเชี่ยวกราก หลังฝนถล่มซ้ำอีก ทางด้านเจ้าหน้าที่ก่อกระสอบทรายสูงกว่า 2 เมตร ป้องกันน้ำทะลักแล้ว

วันนี้ (12 ตุลาคม 2554) สถานการณ์น้ำท่วมที่บริเวณท่าน้ำนนท์ เทศบาลนครนนทบุรี จ.นนทบุรี ขณะนี้ระดับเพิ่มสูงขั้นอย่างรวดเร็ว โป๊ะท่าน้ำลอยขึ้นจนเกือบสุดเสายึดแล้ว ทางเจ้าหน้าที่เทศบาลได้นำกระสอบทรายก่อเป็นกำแพงกั้นน้ำสูงประมาณ 2 เมตร เพื่อไม่ให้น้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยาไหลทะลักเข้ามา

ทั้งนี้ ทางเจ้าหน้าที่ได้ตั้งเครื่องสูบน้ำขนาดใหญ่ 1 ตัว คอยสูบน้ำออกตลอดเวลา พร้อมทั้งมีเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็น หน่วยดับเพลิงเทศบาลนครนนทบุรี และเจ้าหน้าที่ฝ่ายป้องกัน และบรรเทาสาสาธารณภัย คอยเฝ้าระวังตลอด 24 ชม.

อย่างไรก็ตาม เมื่อเวลา 11.50 น. ได้เกิดฝนตกหนักถล่มซ้ำอีกครั้ง ทำให้กระแสน้ำน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาเชี่ยวกราก เรือโดยสารที่ต้องข้ามฟากไปยังฝั่งบางบัวทองต้องใช้ความระมัดระวังในการควบคุมเรือเป็นอย่างมาก ส่วนเรือด่วนเจ้าพระยานั้นยังเปิดบริการตามปกติ แต่ต้องบังคับเรือให้ช้าลงกว่าเดิม เพื่อลดความแรงของน้ำที่จะพัดเข้าบ้านเรือนประชาชน



[3 ตุลาคม] กรมชลฯ โต้ข่าวลือน้ำท่วมเกาะเกร็ดสูงเท่าปี 2538

เกาะเกร็ด

เกาะเกร็ด




กรมชลฯ ชี้ปีนี้น้ำมากที่สุดเป็นประวัติการณ์ คาดปทุม-นนท์ท่วมหนัก เกาะเกร็ดอาจท่วมถึงยอด หากน้ำไหลผ่านเจ้าพระยาเกิน 4,500 ลบ.ม. เผยขณะนี้น้ำไหลผ่านเขื่อนที่ 3,616 ลบ.ม.

วานนี้ (30 กันยายน) นายวีระ วงศ์แสงนาค รองอธิบดีกรมชลประทาน ระบุว่า หลังจากที่เกิดฝนตกหนักในภาคเหนือเมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา ส่งผลให้ปริมาณน้ำในแม่น้ำปิงมากกว่า 1 พันล้านลูกบาศก์เมตร (ลบ.ม.) ซึ่งถือว่าสถานการณ์อยู่ในระดับวิกฤตแล้ว และน้ำทั้งหมดจะมาถึงเขื่อนภูมิพลในอีก 5 วันข้างหน้า ซึ่งขณะนี้ระดับน้ำในเขื่อนภูมิพลก็วิกฤตอยู่แล้ว ไม่สามารถรับน้ำเหนือที่จะไหลบ่ามาได้อีกการไฟฟ้าฝ่ายผลิตจึงต้องเร่งระบายน้ำเพิ่มขึ้นจากวันละ 20 ล้านลูกบาศก์เมตร เป็น 40 ล้านลูกบาศก์เมตร เพื่อความปลอดภัยของเขื่อน ซึ่งการระบายน้ำเช่นนี้ จะทำให้ปริมาณน้ำที่จังหวัดนครสวรรค์เพิ่มขึ้นในระดับ 5,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ซึ่งสูงที่สุดในประวัติการณ์ของประเทศไทย

อย่างไรก็ตาม รองอธิบดีกรมชลประทานยังคาดด้วยว่า น้ำทั้งหมดน่าจะเข้าสู่แม่น้ำเจ้าพระยาในกรุงเทพมหานครประมาณวันที่ 15 ตุลาคมเป็นต้นไป ซึ่งหากไม่สามารถจัดการบริหารน้ำได้ คาดว่า จังหวัดปทุมธานี และนนทบุรี ซึ่งเป็นจังหวัดท้ายเขื่อนเจ้าพระยาจะได้รับผลกระทบอย่างหนัก

โดยเฉพาะที่จังหวัดนนทบุรี ระดับน้ำอาจจะท่วมสูงเกือบถึงยอดเจดีย์เกาะเกร็ด ทุบสถิติปี 2538 ก็เป็นได้ ขณะที่กรุงเทพฯ ก็อยู่ในสถานการณ์ที่น่าห่วง เพราะต้องเร่งระบายน้ำในช่วงที่น้ำทะเลจะหนุนสูงที่สุดในรอบปี คือวันที่ 28-31 ตุลาคมนี้ ซึ่งทางกรมชลประทานจะแถลงข่าวแจ้งเตือนสถานการณ์อุทกภัยทุกวัน เพื่อให้ประชาชนเตรียมตัวรับมือ

อย่างไรก็ตาม ล่าสุด เมื่อเช้าวันนี้ (1 ตุลาคม) กรมชลประทานได้ออกมาชี้แจงถึงข่าวดังกล่าวว่า การที่สถานการณ์น้ำในเกาะเกร็ดจะสูงเท่าปี พ.ศ.2538 จะต้องมีปริมาณน้ำไหลผ่านเขื่อนเจ้าพระยา จังหวัดชัยนาท 4,500 ลูกบาศก์เมตร ต่อวินาที แต่ในข้อเท็จจริงขณะนี้มีปริมาณน้ำผ่านเขื่อนเจ้าพระยา ประมาณ 3,616 ลูกบาศก์เมตรเท่านั้น ข่าวดังกล่าวจึงยังไม่เป็นความจริง อย่างไรก็ตาม ประชาชน สามารถติดตามสถานการณ์น้ำ จากกรมชลประทานได้ ตลอด 24 ชั่วโมง ทางสายด่วน 1460 กด 2

ขณะที่สถานการณ์น้ำบริเวณเกาะเกร็ด จังหวัดนนทบุรี เมื่อช่วงเช้าที่ผ่านมา (1 ตุลาคม) ปริมาณน้ำได้เพิ่มมากขึ้นจนท่วมถนน ทำให้ร้านค้าที่ตั้งอยู่สองข้างต้องปิดร้าน เมื่อนักท่องเที่ยวที่ทราบข่าวจึงไม่เดินทางมาเที่ยวเกาะเกร็ด โดยนายวิศิษฐ์ พวงเพชร นายอำเภอปากเกร็ด กล่าว ขณะนี้ระดับน้ำสูงสุดอยู่ที่ 2.62 ม. ซึ่งเพิ่มสูงขึ้นกว่าเมื่อวาน โดยจุดที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดอยู่ที่ ต.เกาะเกร็ด และปีนี้ถือว่าระดับน้ำสูงมาก แม้แต่ในเขตเทศบาลที่ไม่เคยประสบปัญหาน้ำท่วมมาปีนี้ก็ยังเจอสภาวะน้ำท่วม



อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก



0 ความคิดเห็น:

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม