สำหรับวิธีช่วยเหลือและปฐมพยาบาลเด็ก หรือคนที่ถูกไฟฟ้าดูด ว่า ให้ถอดปลั๊กและยกคัตเอาต์ลงเพื่อตัดแหล่งจ่ายกระแสไฟฟ้า จากนั้นใช้วัตถุที่ไม่เป็นสื่อไฟฟ้า หรือฉนวนกันไฟฟ้า เช่น ผ้าแห้ง ไม้แห้ง เชือก สายยางพลาสติก หรือหนังสือพิมพ์ที่ม้วนเป็นแท่ง เขี่ยสายไฟให้หลุดจากตัวเด็ก หรือคล้องตัวเด็กที่ถูกไฟฟ้าดูดออกมา สำหรับผู้ใหญ่ที่เข้าไปช่วยเหลือร่างกายต้องไม่เปียกชื้น และห้ามสัมผัสถูกตัวเด็กที่ถูกไฟฟ้าดูดโดยตรง เพื่อป้องกันการถูกไฟฟ้าดูด หากจะให้ดีผู้ที่ช่วยควรยืนอยู่บนฉนวนเช่นกัน เช่น หนังสือพิมพ์ ผ้าห่ม กล่องไม้หรือสวมรองเท้ายาง "หากเด็กที่ถูกไฟฟ้าดูดไม่รู้สึกตัว และหัวใจหยุดเต้น ให้นวดหัวใจ โดยนวดอย่างน้อย 100 ครั้งต่อนาที พร้อมทั้งผายปอด ถ้ามี ผู้ช่วยเหลือ 1 คน ให้นวดหัวใจ 30 ครั้งและผายปอด 2 ครั้ง แต่ถ้ามีผู้ช่วยเหลือ 2 คน ให้นวดหัวใจ 15 ครั้งและผายปอด 2 ครั้ง จากนั้นรีบนำส่งโรงพยาบาล หรือตามหน่วยกู้ ถ้าไฟดูดไม่มาก เด็กยังมีสติ พูดโต้ตอบได้ ควรตรวจตามร่างกายว่ามีบาดแผลใดๆ หรือไม่ และนำส่งโรงพยาบาลต่อไป" พ.ญ.พิมพ์ภัคทิ้งท้ายว่า หากคุณพ่อคุณแม่ดูแลเอาใจใส่บุตรหลานใกล้ชิด รวมถึงจัดสภาพแวดล้อมให้ปลอดภัย จะช่วยลดความเสี่ยงอุบัติภัยจากไฟฟ้าที่อาจเกิดขึ้นกับเด็กได้ "กันไว้ดีกว่าแก้นะคะ"
ในสถานการณ์น้ำท่วมแบบนี้หลายพื้นที่อยู่ในสภาพน้ำท่วมขัง เพิ่มความเสี่ยงต่อการถูกไฟดูดมากยิ่งขึ้น
โดยเฉพาะเด็กๆ ที่รู้เท่าไม่ถึงการณ์ พ.ญ.พิมพ์ภัค ประชาศิลป์ชัย ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี (ร.พ.เด็ก) กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข แนะนำว่า ควรยกคัตเอาต์ลงทันทีเมื่อน้ำท่วมเข้าบ้าน เนื่องจากการยกคัตเอาต์ลงไฟจะตัดทันที ถ้าบ้านไหนแยกคัตเอาต์ไว้เป็นชั้นจะทำให้สะดวกมากยิ่งขึ้น และอย่าแตะสวิตช์ไฟ อุปกรณ์ไฟฟ้า หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าที่กำลังเสียบปลั๊กอยู่ ในขณะที่ร่างกายเปียกชื้น หรือกำลังยืนอยู่บนพื้นเปียก
แนะวิธีรับมือไฟดูด ช่วงน้ำท่วม
ป้ายกำกับ:
ทั่วไป
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น