โดย : หนุ่มลูกทุ่ง | ||||
สำหรับสถานที่แรกในทริปเดินเท้านี้ พวกเราไปเจอกันที่วัดอินทร์ หรือ “วัดอินทรวิหาร” สร้างขึ้นในสมัยอยุธยาตอนปลายประมาณ พ.ศ.2295 เดิมชื่อวัดไร่พริก แต่มาเปลี่ยนเมื่อสมัยรัชกาลที่ 1 โปรดเกล้าฯพระราชทานที่ดินในตำบลบางขุนพรหมให้เป็นที่ตั้งบ้านเรือนของครอบครัวเชลยชาวเวียงจันทน์ เจ้าอินทร์ผู้เป็นน้าชายของเจ้าน้อยเขียวพระสนมเอก ได้บูรณะพระอารามขึ้นและนิมนต์เจ้าคุณพระอริญญิก พระสงฆ์ชาวเวียงจันทร์ที่อพยพมาด้วยกันขึ้นปกครองวัด ชาวบ้านจึงเรียกวัดนี้ว่า “วัดอินทร์” ตามนามผู้บูรณะ ต่อมามีการบูรณะอีกครั้งหนึ่ง ผู้บูรณะคือ เจ้าอินทวงศ์ พระราชโอรสในสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิ์พลเสพ | ||||
ส่วนอุโบสถมีลักษณะเป็นทรงไทยแบบอยุธยา ประดับและปูพื้นด้วยหินอ่อนและหินแกรนิต ช่อฟ้าใบระกาหน้าบัน ซุ้มเสมา เป็นงานฝีมือปูนปั้นแบบอยุธยา ประดับกระจกดูแล้วงดงามมากทีเดียว ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปสมัยอยุธยา และอีกสิ่งที่ไม่ควรพลาดคือจิตรกรรมฝาผนังที่เล่าเรื่องชีวประวัติของหลวงพ่อโตเอาไว้ | ||||
ในอดีตวังแห่งนี้เป็นสถานที่จัดงานสโมสรสันนิบาต ต้อนรับแขกเมือง เป็นที่จัดงานสังสรรค์ของพระบรมวงศานุวงศ์ และเป็นสถานที่ให้ครูชาวต่างชาติใช้จัดสอนวิชาต่างๆให้กับพระธิดาและเจ้านายฝ่ายในของวังอื่นๆ จนเรียกกันติดปากว่า “บางขุนพรหมยูนิเวอร์ซิตี้” | ||||
สำหรับพิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทย วังบางขุนพรหม โดยปกติแล้วการจะเข้าชมภายในจะต้องทำหนังสือขออนุญาตผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์ล่วงหน้าอย่างน้อย 1 สัปดาห์ แต่ในช่วงนี้เปิดให้เข้าชมได้โดยไม่ต้องทำหนังสือขออนุญาตในวันจันทร์และอังคาร ในเวลาราชการ โดยเฉพาะวันอังคารจะมีการบรรยายพิเศษเกี่ยวกับประวัติ ในเวลา 10.30-11.00 ใครที่สนใจก็อย่ารอช้า มาชมกันได้เลย | ||||
| ||||
เมื่อชม 2 วังอันทรงคุณค่าทางสถาปัตยกรรมกันแล้ว พวกเราเดินเลียบถนนสามเสนมายังสามเสนซอย 5 ต่อไปยัง “วัดสามพระยาวรวิหาร” วัดเก่าแก่ในสมัยรัชกาลที่ 1 โดยหลวงวิสุทธิ์โยธามาตย์ (ตรุษ) ขุนนางเชื้อสายมอญ พร้อมด้วยวงศาคณาญาติได้ร่วมใจกันยกที่ดินพร้อมทั้งบ้านเรือนของขุนพรหม (สารท) ผู้เป็นน้องชาย อุทิศถวายเป็นวัดเพื่อเป็นผลบุญและเป็นอนุสรณ์แก่ ขุนพรหม ซึ่งเสียชีวิตด้วยไข้ป่า วัดนี้จึงได้ชื่อว่า "วัดบางขุนพรหม" | ||||
| ||||
| ||||
มาในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 เชลยที่มีความสามารถทางด้านการทำทองจะถูกส่งตัวมาทำงานในย่านนี้ ทำให้ชุมชนมัสยิดจักรพงษ์มีความสามารถในเรื่องการทำทองสืบต่อกันมา แต่ปัจจุบันในชุมชนไม่มีการทำทองแล้ว เนื่องจากการทำทองทำได้ยากและเสียเวลาทำให้ไม่มีผู้ใดสืบทอดการทำทองต่อไป | ||||
| ||||
พระอุโบสถมีขนาดใหญ่ลักษณะเป็นโรงโถง หน้าบันมีช่อฟ้าใบระกา หางหงส์ แกะสลักเป็นรูปซุ้มประตูมีนารายณ์ทรงครุฑ ซุ้มประตูเป็นรูปปั้นลายกนก บานประตูจำหลักลายกนกลงรักปิดทองประดับกระจก ด้านในมีภาพจิตรกรรมเขียนสีอันงดงาม สำหรับพระประธานภายในพระอุโบสถนามว่า “พระพุทธนรสีห์ตรีโลกเชษฐ์” เป็นพระพุทธรูปปูนปั้นลงรักปิดทอง ปางมารวิชัย | ||||
|
ที่มา http://www.manager.co.th/Travel/ViewNews.aspx?NewsID=9540000145272
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น