เติมความรักและความหวัง ที่ “พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน”


วันนี้เราจะพาชาว www.e-magazine.info ออกเดินทางไปพบกับความสงบ ท่ามกลางธรรมชาติ ที่อยู่ใกล้คุณแค่เอื้อม จุดหมายปลายทางของเราอยู่ที่ "พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน" ซึ่งเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญแห่งหนึ่งของจังหวัดเพชรบุรี เป็นพระราชวังสร้างในสมัยรัชกาลที่ 6 ตั้งอยู่ในค่ายพระรามหก ที่ ต.ห้วยทรายเหนือ อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี


เราออกเดินทางจากกรุงเทพฯ ตั้งแต่เช้า การเดินทางเราใช้เส้นทางกรุงเทพฯ-หัวหิน เรื่อยลงมาจนถึงค่ายพระรามหกซึ่งอยู่ระหว่างชะอำและหัวหิน ถ้ามาจากชะอำให้เดินทางไปตามถนนเพชรเกษม ประมาณ 9 กิโลเมตรจะเห็นค่ายพระรามหกอยู่ทางซ้ายมือ ก็จะพบกับทางเข้าของค่ายพระรามหก โดยมีป้ายทางเข้า " พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน " ขนาดใหญ่อยู่ทางซ้าย ให้เราเลี่ยวซ้ายเข้าไปได้เลย ท่ามกลางแสดงแดดอันร้อนแรงของวัน มีพี่เจ้าหน้าที่ใจดียืนต้อนรับและคอยสอบถามว่า "เข้ามาเยี่ยมชม พระราชวังใช่ไหม?" "ให้ตรงไปตามทางนี้นะ" ด้วยสีหน้าที่ยิ้มแย้ม บ่งบอกถึงความเป็นมิตรตลอดเวลา เราผ่านเข้ามา โดยไม่ต้องแลกบัตร เมื่อเข้ามาในค่ายพระรามหก จะเห็น " อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร " สามารถจอดรถ แวะเข้าไปชมข้างในได้ ข้างในจะเป็นศูนย์ให้ความรู้เผยแพร่และฝึกอบรมระดับสากลด้านการอนุรักษ์พลังงาน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ตลอดจนส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ เราขับรถตรงเข้าไปสักพักก็จะเจอกับที่จอดรถ มีร้านขายของที่ระลึก ร้านอาหารเล็กๆ ตั้งเรียงรายอยู่หน้าที่จอดรถ รวมไปถึง ร้านนวดเท้า เหมาะกับผู้สูงอายุ ที่เหน็ดเหนื่อยกับการเดินทาง สิ่งที่สะดุดตาอีกอันนึง ที่ทุกคนจะต้องเห็น คือ ลานจอดรถจักรยานมากกว่า 100 คัน จอดเรียงรายอยู่เป็นแถว สอบถามได้ความว่าเป็นจักรยานเช่า สำหรับขี่เข้าไปในตัวของพระราชนิเวศน์ ซึ่งได้รับความสนใจจากเด็กๆ ไปจนถึงคุณพ่อคุณแม่ที่พาลูกมาเที่ยวด้วย โดยมีทั้งแบบซ้อนท้าย แบบขี่ 2 คัน 3 คน ถึงขั้น 4 คนก็มี ราคาก็ไล่ไปตั้งแต่ 20-40 บาท เป็นภาพที่ดูสนุกสนาน ไปอีกรูปแบบนึง ว่าแล้วก็เลยถอยมา 1 คัน สนนราคาที่ 20 บาท เลือกตามความหมาะสมกับสรีระได้เลยครับ มาถึงบริเวณทางเข้า จะเป็นที่จำหน่ายค่าผ่านประตูเข้าไป โดยราคาจะอยู่ที่คนละ 30 บาท ถ้าขึ้นชมด้านบนของตัวอาคารจะเสียเพิ่มอีก 30 บาท และมีเวลาเข้าชมเป็นรอบๆ ไป เราเสียค่าผ่านประตูเรียบร้อยแล้ว เดินผ่านประตูเข้ามาจะพบกับเส้นทางที่ดูสงบและสวยงาม ต้นไม้และสนามหญ้า ถูกดูแลเป็นอย่างดี ลมทะเลพัดผ่านมา ทำให้รู้สึกเย็นสบาย ตัดกับแสงแดดจ้า ในเวลาเที่ยงวันๆ กว่า ทำให้ภาพดูสดใสมากยิ่งขึ้น

ประวัติของ " พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน "
การก่อสร้าง "พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน" ใกล้เสร็จอย่างสมบูรณ์ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2466 เจ้าพระยายมราช เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย ผู้อำนวยการก่อสร้างพระราชนิเวศน์มฤคทายวันได้มีการตรวจการปลูกสร้างพระราชนิเวศน์มฤคทายวันเพื่อเตรียมความพร้อมที่จะรับเสด็จ ในการแปรพระราชฐานในฤดูร้อน พ.ศ. 2467 เมื่อการก่อสร้างพระราชนิเวศน์เสร็จได้พระราชทานนามพระราชนิเวศน์แห่งนี้ว่า "พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน" พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงแปรพระราชฐานประทับพระราชนิเวศน์มฤคทายวันในช่วงฤดูร้อน พ.ศ. 2467 เป็นครั้งแรก (วันที่ 22 เมษายน-13 กรกฎาคม) และเสด็จประทับพักผ่อนพระราชอิริยาบถในฤดูร้อน พ.ศ. 2467 เป็นครั้งที่ 2 (วันที่ 12 เมษายน-20 มิถุนายน) ในการเสด็จครั้งนี้พระองค์ทรงงานตลอดเวลา หลังจากสร้างเสร็จแล้วทางกระทรวงมหาดไทยได้จัดให้หลวงสมบูรณ์บุรินทร์เป็นหัวหน้าพนักงานรักษาที่พักมฤคทายวัน ต่อมาใน พ.ศ. 2512 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้กองบัญชา การตำรวจตะเวนชายแดนใช้เป็นที่ตั้งศูนย์ฝึกการต่อต้านปราบปรามการก่อความไม่สงบ คือกองกำกับการที่ 1 กองบังคับพิเศษ ใน พ.ศ. 2523 หน่วยราชการนี้ได้นามพระราชทานว่า "ค่ายพระรามหก" นอกจากนี้ได้จัดตั้งมูลนิธิพระราชนิเวศน์มฤคทายวันขึ้นโดยสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดีได้ทรง พระกรุณาโปรดรับไว้ในพระอุปถัมภ์ ปัจจุบันนี้ทางมูลนิธิและค่ายพระรามหก ยังได้เปิดให้ประชาชนได้เข้าชมพระราชนิเวศน์ความสวยงามของพระราชวังแห่งนี้ด้วย

"พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน" เป็นหมู่อาคารที่วางเรียงกันตามความยาวของชายหาด แบ่งพื้นที่ออกเป็นสองส่วน คือ ส่วนที่ประทับทางทิศใต้และส่วนที่อยู่ของข้าราชบริพารทางทิศเหนือ ส่วนที่ประทับนั้นมีรั้วล้อมสามด้าน ภายในมีพระที่นั่งสามหมู่ คือ พระที่นั่งสมุทรพิมาน เป็นที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระที่นั่งพิศาลสาคร เป็นที่ประทับของสมเด็จพระนางเจ้าอินทรศักดิ์ศจี พระวรราชชายา และพระที่นั่งสโมสรเสวกามาตย์ เป็นท้องพระโรงและโรงละคร พระที่นั่งที่ประทับแต่ละหมู่เป็นอาคารชั้นเดียวยกใต้ถุนสูง ประกอบด้วยห้องที่ประทับ ที่เสวย ห้องพระภูษา และห้องพักข้าราชบริพารผู้ตามเสด็จฯ แต่ละห้องวางกระจายกันให้รับลม มีชาลาเชื่อม มีหลังคาคลุมติดต่อกัน ยาวต่อเนื่องไปจนถึงศาลาลงสรงที่ริมหาด แยกฝ่ายหน้าฝ่ายในไม่ปะปนกัน ตามโบราณราชประเพณี ส่วนที่อยู่ของข้าราชบริพารนั้น อยู่นอกรั้วส่วนที่ประทับไปทางทิศเหนือ มีแนวถนนเลียบไปตามแนวชายหาด และมีอาคารบ้านพักข้าราชสำนักฝ่ายหน้าที่ตามเสด็จฯ รวมทั้งสิ้น 28 หลัง เกือบทั้งหมดเป็นโครงสร้างไม้มุงจาก ปัจจุบันยังคงเหลือบ้านเจ้าพระยารามราฆพ ซึ่งเป็นอาคารโครงสร้างคอนกรีตผสมไม้เพียงหลังเดียว

สถาปัตยกรรมพระราชนิเวศน์มฤคทายวัน เป็นตัวอย่างของสถาปัตยกรรมเพื่อการพักตากอากาศในช่วงปลายรัชกาลที่ ๖ เมื่อครั้งที่วัสดุก่อสร้างในพื้นที่ยังหายาก กับทั้งระยะเวลาในการก่อสร้างที่จำกัด สถาปนิกและวิศวกรจึงเลือกใช้ระบบพิกัด (modular system) ในการออกแบบ ทั้งทางราบและทางตั้ง โดยใช้แนวเสาระยะ 3 เมตรเป็นมาตรฐาน แต่ละช่วงเสาแบ่งผนังออกเป็น 7 ส่วนๆ ละ 40 เซนติเมตร เกิดเป็นจังหวะ 2 : 3 : 2 ตอบรับกับขนาดบานหน้าต่างและประตู ช่องระบายอากาศไม้ฉลุเหนือขอบประตู ตลอดจนฝ้าเพดานห้อง ใช้ชิ้นส่วนวัสดุก่อสร้างสำเร็จรูปที่ผลิตโดยระบบอุตสาหกรรม แต่วางแผนผังห้องให้ยักเยื้องกัน มีรูปทรงหลังคาที่หลากหลาย ทำให้อาคารดูเรียบง่ายแต่ไม่น่าเบื่อ ทั้งยังมีความโปร่งเบา มีการประดับประดาแต่น้อยที่สุด ตอบรับกับความนิยมของยุคสมัย ที่เป็นรอยต่อระหว่างสถาปัตยกรรมวิคตอเรียน กับสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ เป็นที่น่าเสียดายที่หลังจากมีการสร้างพระตำหนักแล้วเสร็จ พระองศ์ท่านทรงเสร็จพระราชดำเนินมาประทับแรมเพียงสองครั้ง ครั้งละสามเดือน ก่อนจะเสด็จสวรรคต

เราได้ขี่จักรยานวนรอบๆ ด้านนอกของพระราชนิเวศน์ มาทางด้านซ้ายมือ ก็จะเห็นสวนดอกไม้ ที่ถูกจัดไว้อย่างสวยงาม พร้อมรูปปั้น " อนุเสารีย์ รัชกาลที่ 6 " ส่วนทางด้านขวามือ จะเป็นฝั่งของทะเลหัวหิน เลยถัดมาอีกนึด จะพบกับ อาคารทรงโบราณเก่าๆ แต่ยังคงสภาพเอาไว้อย่างดี ซึ่งมีความสวยงามและโดดเด่น อยู่ริมชายฝั่งที่ติดกับทะเล ตัวอาคาร สวยงาม ดู คลาสสิค สัมผัสได้ถึงบรรยากาศเก่าๆ มีต้นไม้ใหญ่ คอยให้ความร่มรื่น เหมาะสำหรับการนั่งพักผ่อน หรือทานอาหารกลางวันกับครอบครัวในแบบสบายๆ เลยมาอีกนิดทางด้านซ้ายมือ ขี่จักรยานเข้าไป ก็จะพบกับเส้นทางเดินชมธรรมชาติ สวนป่าชายเลน ไว้ต้อนรับนักท่องเที่ยวธรรมชาติ มีหอคอยประมาณ 4 ชั้น สำหรับขึ้นไปดูป่าชายเลน สุดลูกหูลูกตา ทางด้านใน จะมีทางเชื่อมต่อกันไป ครอบคลุมพื้นที่ของการปลูก เหมาะสำหรับท่าน ที่รอการเข้าเยี่ยมชมพระราชนิเวศน์ แวะมาเดินเล่น ชมธรรมชาติในส่วนนี้กันก่อน เมื่อใกล้เวลา ของการเยี่ยมชมพระราชนิเวศน์ ด้านบน เราก็ขี่จักรยาน ย้อนกลับ ที่หน้าทางเข้าจะมีซุ้มสำหรับ ให้จอดจักรยานโดยเฉพาะ ไม่ต้องกลัวหายนะครับ แต่อย่าลืมว่าจอดเอาไว้ตรงไหนละกัน เพราะว่า สีมันเหมือนๆ กันหมด เดินเข้ามาผ่านซุ้มประตูทางเข้า ก็จะเจอกับพนักงานใจดี คอยให้แนะนำ สิ่งที่จะเจอตอนแรกก็คือ นิทรรศการ ประวัติความเป็นมา ของพระราชนิเวชน์ แห่งนี้ ที่จัดแสดงรายละเอียด ภาพถ่าย รวมถึงของใช้ในสมัยนั้น ให้เราได้สัมผัส และ รับรู้ถึงความเป็นมา กอ่นจะเข้าไปสัมผัสกับตัวอาคารจริงๆ ทางด้านใน

ภายในพระราชนิเวศน์ มองเข้าไปจะเจอกับต้นจามจุรีเก่าแก่แผ่กิ่งด้านให้ร่มเงา สนามหญ้าสีเขียว ตัดกับตัวอาคารสีครีม หลังคาสีแดง เรียงรายกันไปจามแนวชายหาดของทะเล ความรู้สึกจะเงียบสงบอย่างบอกไม่ถูก มันรู้สึกได้ถึงกลิ่นอายของการพักผ่อนอย่างแท้จริง สังเกตได้จากการเห็นหลายครอบครัว ค่อยๆ เดินไปอย่างไม่เร่งรีบ บางคนหยุดถ่ายรูป หรือว่า นั่งพักบนม้านั่ง ที่มีไว้ให้ตลอดทางเดิน เราค่อยๆ เดินไป พร้อมรับรสสัมผัสของธรรมชาติไปอย่างช้าๆ ตัวอาคารนี้ จะทอดยาวไปในแนวหันหน้าเข้าชายหาด เมื่อมองเข้าตัวอาคาร จะเห็นเสา จำนวนมากมาย เรียงรายเป็นแนว คอยรับน้ำหนักของตัวอาคารเอาไว้อย่างแข็งแรง เกิดเส้นสายทางเรขาคณิต เหมาะแก่การถ่ายภาพ เก็บความทางจำเอาไว้เป็นอย่างยิ่ง เราเดินผ่านแนวเสา เข้ามาทางด้านหลังของตัวอาคาร เพื่อจะขึ้นสู่ด้านบน จะมีเจ้าหน้าที่คอยบอกกฎระเบียบของการเยี่ยมชม พร้อมกับถุงผ้า สำหรับใส่ร้องเท้า ที่ต้องถือไปเอง และคืนตรงทางลงอีกด้านนึง เราเดินขึ้นไปเยี่ยมชม ทางด้านบนของตัวอาคาร สัมผัสของพื้นไม้ ที่เหยีบลงไปทำให้รู้สึกสบายเท้า ทางด้านบนแบ่งออกเป็นห้องต่างๆ มากมาย แยกไปทางซ้ายและขวา แต่ละห้อง จะมีประวัติความเป็นมา คอยบอกข้อมูลให้แก่นักท่องเที่ยว ได้รับรู้ถึงประวิติศาสตร์ ที่ผ่านมาของตัวอาคานี้ ทุกจุดจะสัมผัสได้ถึงลงทะเล ที่พัดผ่านเข้ามา ทางช่อมงลม และหน้าต่าง ที่ผ่านการออกแบบมาเป็นอย่างดี บางห้องจะมีเด็กๆ เข้ามานั่งเรียนดนตรีไทย ในวันเสาร์ อาทิตย์ ซึ่งเราก้จะได้ยินเสียงดนตรีไทย เคล้าคลอไปกับการเยี่ยมชมครั้งนี้ด้วย ทำให้เพลิดเพลินใจ และผ่อนคลายยิ่งขึ้น

ส่วนของสิ่งของเครื่องใช้ รวมไปถึง เครื่องเรือน เตียงนอนต่างๆ ถึงแม้จะดูเก่า แต่ก็ได้รับการดูแลรักษาเป็นอย่างดี มีโมบาย กันเอาไว้ที่หน้าห้อง ไม่ได้นั่งท่องเที่ยว เข้าไปในห้องต่างๆ ป้องกันความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นได้ มองลงมาทางด้านหลัง ของตัวอากคารหลัก จะเป็นตัวอาคารรอง ที่เป็นที่พักของข้าราชบริพาร ในสมัยก่อน โดยแบ่งออกเป็นห้องๆ ติดๆกันไป แต่ละห้องก็จะจัดแสดงความเป็นอยู่ เสื้อผ้าหรือ ของใช้ในสมัยนั้น ให้นักท่องเที่ยวได้ชมอย่างหลากหลาย ถัดมาตรงทางเดินตรงไปที่ทางออก จะมีสวนต้นไม้ขนาดใหญ่ เรียงรายไปตามทางเดิน แล้วก็เจอกับสวนน้ำพุ วงกลม ที่เป็นไฮไลท์สำหรับนักถ่ายภาพ ต้องหยุดเก็บความประทับใจเอาไว้ หลายคนนั่งเล่น ใต้ร่มเงาของเหล่าต้นไม้ใหญ่เหล่านี้ ความรู้สึกร่มเย็น อบอุ่น และสงบ เกิดขึ้นพร้อมๆ กัน อย่างไม่รู้ตัว เป็นความรู้สึกที่เราได้พักผ่อนอย่างแท้จริง อยากนั่งอยู่ตรงนั้นนานๆ เพื่อชาร์จพลังชีวิตให้กับตัวเอง กลับออกไป พร้อมต่อสู้กันใหม่ กับสิ่งทีรอเราอยู่ข้างหน้า ผมเชื่อนะครับว่า ถ้าคุณมาลองได้สัมผัส ที่นี่ด้วยตัวของคุณเองแล้ว คุณจะรู้สึกได้เหมือนผมอย่างแน่นอน

กฏระเบียบในการเข้าชมนะครับ
1. แต่งกายเรียบร้อย เสื้อมีแขน กางเกงหรือกระโปรงห้ามสั้นเหนือเข่า ถ้าแต่งไปก็จะมีให่ใส่ผ้าสไบห่มไว้และผ้าถุงให้นุ่งทั้งชายและหญิง
2. สัตว์เลี้ยงไม่อนุญาตให้นำเข้าไป
3. ห้ามส่งเสียงดัง
4. ถ้าจะขึ้นชมบนพระตำหนัก จะมีเป็นรอบๆ รอบละ 20 คน ก่อนขึ้นต้องถอดรองเท้าใส่ถุงแล้วถือไป อย่าเดินลงส้นดัง
5. บนตำหนักกล้อง DSLR ไม่อนุญาตให้ถ่ายภาพครับ ก่อนเข้าต้องไปแลกบัตรลงทะเบียนก่อน
6. โทรศัพท์อนุญาตให้เปิดได้แต่ขอความร่วมมือให้ปิดเสียงไว้ครับ
เกร็ดความรู้
"มฤค" แปลว่า เนื้อทราย, กวาง
"มฤคทายวัน" หมายถึงป่าที่ให้อภัยแก่สัตว์ ตรงกับชื่อป่าอิสิปตนมฤคทายวัน สถานที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนา

พระราชนิเวศน์แห่งนี้ มีตำนานที่เล่าขานต่อๆ กันมาจนมีผู้ขานเรียกพระราชนิเวศน์แห่งนี้ว่า "พระราชนิเวศน์แห่งความรักและความหวัง" ทั้งนี้ สืบเนื่องมาจากเมื่อคราวที่พระนางเจ้าอินทรศักดิ์ศจี ทรงพระครรภ์นั้น องค์พระมหาธีรราชเจ้าทรงพระเกษมสำราญยิ่งด้วยทรงมุ่งหวังว่าจะทรงมีพระปิโยรส แต่ความหวังทั้งมวลก็สิ้นสลายเมื่อสมเด็จพระนางเจ้าฯ ไม่สามารถมีพระประสูติกาลได้ ยามนั้น พระองค์ท่านทรงอภิบาลพระมเหสีด้วยน้ำพระทัยเป็นห่วงและเศร้าสร้อย ณ พระที่นั่งสมุทรพิมานแห่งนี้

พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน เปิดให้เข้าชมทุกวัน ระหว่างเวลา 08.00-16.00 น. ยกเว้นวันพุธ
เบอร์โทรติดต่อสำนักงานมูลนิธิพระราชนิเวศน์มฤคทายวัน 032 508 444-5 เบอร์โทรสาร 032 508 039




0 ความคิดเห็น:

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม