10 ข้อ ดูแลสุขภาพจิตช่วงน้ำท่วม




ปัญหาสุขภาพจิตที่มากับอุทกภัย เป็นสิ่งที่ไม่สามารถมองข้ามได้ เพราะจากการลงพื้นที่ของกรมสุขภาพจิต

กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ประเมินปัญหาสุขภาพจิตใน 36 จังหวัด พบยอดรวมสะสมถึง 92,310 ราย มีความเครียดสูง 3,706 ราย มีภาวะซึมเศร้า 5,313 ราย เสี่ยงฆ่าตัวตายอีก 727 ราย สิ่งเหล่านี้เป็นปัญหาที่ต้องเฝ้าระวัง และต้องแนะนำผู้ที่มีปัญหาสุขภาพจิตอย่างเร่งด่วน ขณะเดียวกันผู้ประสบภัยทุกคนต้องดูแลสุขภาพจิตตัวเองด้วย

ข้อมูลจากกรมสุขภาพจิต สธ. แนะแนวทางการดูแลจิตใจในช่วงอุทกภัย ประกอบด้วย 10 ข้อ ดังนี้

1. ตั้งสติให้มั่น มองทุกปัญหาว่ามีทางแก้ไข

2. หากรู้สึกท้อใจ ให้ค้นหาแหล่งสร้างกำลังใจให้กับตัวเอง ได้แก่ ความรักความผูกพันกับคนในครอบครัว ความศรัทธาทางศาสนา การมีเป้าหมายชีวิตที่มีคุณค่า ความเชื่อว่าปัญหาจะผ่านไปแล้วมันจะดีขึ้น การมองเห็นสิ่งดีๆ ในชีวิต

3. ฝึกหายใจคลายเครียด และทักษะผ่อนคลายอื่นๆ

4. นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ อย่างน้อยวันละ 7-8 ชั่วโมง

5. พูดคุยกับคนใกล้ชิด อย่าคิดคนเดียว ช่วยกันปรึกษาหารือ แปลงปัญหาเป็นโอกาสในการสร้างความผูกพันใกล้ชิดต่อกัน

6. บริหารร่างกายเป็นประจำ เท่าที่สภาพแวดล้อมจะเอื้ออำนวย อย่างน้อยครั้งละ 30 นาที วันเว้นวัน

7. ศึกษาและปฏิบัติตามหลักคำสอนทางศาสนา

8. มองหาโอกาสในการช่วยเหลือผู้อื่น เข้าร่วมกิจกรรมของชุมชน

9. คิดทบทวนสิ่งดีๆ ในชีวิตเป็นประจำทุกวัน

10.จัดการปัญหาทีละขั้นทีละตอน ทำในสิ่งที่ทำได้สร้างความรู้สึกสำเร็จเล็กๆ จากสิ่งที่ทำ ไม่จมไปกับปัญหาที่ยังแก้ไขอะไรไม่ได้ หลีกเลี่ยงการใช้สุราหรือสารเสพติดในการจัดการความเครียด ความทุกข์ใจ


ทั้งนี้ หากไม่ดีขึ้นใน 2 สัปดาห์ ควรพบแพทย์เพื่อการรักษา เพราะความเครียดรุนแรงนำไปสู่โรคซึมเศร้าและการฆ่าตัวตาย


ขอขอบคุณเนื้อหาข่าว คุณภาพดี โดย:"ข่าวเข้ม ฉับไว เป็นกลาง"



0 ความคิดเห็น:

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม