กลายเป็นเหตุการณ์ใหญ่ระดับประเทศไปแล้วสำหรับเรื่องราวของย้ำท่วมที่กำลังเกิดขึ้นในหลายๆจังหวัดของประเทศไทย แต่มันก็ทำให้เห็นว่าคนไทยเราไม่เคยทิ้งกันในยามยาก ไม่แบ่งสี ไม่แบ่งพรรคพวก เพราะเราคือคนไทยเลือดเดียวกันที่ความสามัคคีครั้งนี้จะช่วยให้เราทุกคนสามารถฝ่าฟันอุปสรรคไปได้ ก่อนหน้านี้เราเคยได้กล่าวถึงเรื่องราวการดูแลรถในภาวะน้ำท่วม ทั้งการเตรียม พร้อม ก่อน และ หลัง จากเหตุการณ์ไปบ้างไม่มากก็น้อย แต่ก็ยังมีหลายคนถามมาว่า แล้วกับการขับรถในพื้นที่น้ำท่วมนั้นต้องทำอย่างไรบ้าง และวันนี้ เราก็จะให้เพื่อนๆได้รู้กันว่าการขับรถในสภาวะน้ำท่วมไม่ยากอย่างที่คิด 1.ประเมินสถานการณ์ ข้อสำคัญข้อแรกก่อนลุยน้ำท่วมคือประเมินสถานการณ์ที่ถูกต้องกับระยะทางที่น้ำท่วม ระดับความลึก ซึ่งคุณสามารถสังเกตได้จากรถคันที่สวนมาหรือคันข้างหน้า ตลอดจนความเชี่ยวของน้ำ ก็ล้วนเป็นปัจจุบันสำคัญที่คนขับนั้นจำเป็นต้องรู้ ตามปกติแล้วเรามักจะให้คำแนะนำว่ารถแต่ละประเภทนั้นสามารถลุยน้ำได้ในระดับประมาณ ครึ่งล้อของรถคันนั้นๆ ถือว่าเป็นระดับที่ยังปลอดภัยอยู่ แต่ถ้าเกินกว่านั้น ก็เป็นเรื่องราวของการมีความเสียงต่อการเดินทาง อาจจะตายกลางทางท่ามกลางกระแสน้ำ แต่ก็ไม่ใช่ว่าจะไปไม่ได้เสียเลย 2.เตรียมตัวเปียกกันได้ เมื่อเราประเมินสถานการณ์เรียบร้อย คำนวนอย่างว่องไว และเราตัดสินใจว่า เราจะมุ่งหน้าต่อไปยังทางที่น้ำท่วมข้างหน้า ก็ได้เวลาที่เราจะเตรียมพร้อมในการลงน้ำ โดยปกติแล้วที่เราเห็นเรามักจะขับรถลงไปเฉยๆ แต่นั่นไม่ใช่วิธีที่ถูกต้อง เพราะน้ำมีมวลและความหน้าแน่มากกว่าอากาศ ดังนั้น เมื่อเราขับรุลยน่ำเราจำเป็นต้องลงเกียร์ต่ำ โดยใช้เกียร์ 1 สำหรับรถเกียร์ธรรมดา และ เกียร์ L สำหรับเกียร์อัตโนมัติ และที่สำคัญห้ามลืมคือปิดระบบปรับอากาศ เพราะการทำงานของระบบปรับอากาศนั้น ในรถบางรุ่นที่เป็นพัดลมแยก ทำให้มันตีน้ำไปสู่ชิ้นส่วนต่างๆ วึ่งหากแจ๊คพอทไปโดนพวกระบบจุดระเบิดก็ไม่ต้องสงสัยเลยว่าคุณได้ลอยคอกลางน้ำท่วมแน่ๆ 3. Walking Speed เรื่องสำคัญ ในการลุยอุปสรรคต่างๆนั้น โดยเฉพาะเมื่อน้ำท่วมนั้น การใช้ความเร็วต่ำเป็นเรื่องสำคัญ และเจ้าความเร็วรถยนต์ในรอบเดินเบาะ หรือที่ทางเทคนิคนั้นเรียกว่า Walking Speed ก็เข้ามามีบทบาทสำคัญในการขับรถลุยน้ำท่วม การใช้ความเร้วรอบเดินเบานั้นมีข้อดีที่ความเร็วสม่ำเสมอคงที่ ทำให้แรงดันในท่อไอเสียมีความคงที ซึ่งเมื่อมีแรงดันคงที่น้ำก็จะไม่สามารถไหลย้อนเข้าไปได้ ทำให้เครื่องยนต์นั้นไม่ดับกลางทาง บางครั้งในกรณีที่การจราจรหนาแน่นและรถเคลื่อนตัวช้ามาก พยายามใช้การเว้นระยะห่างประมาณ 1-2 ช่วงคันรถ เพื่อให้เราสามารถเคลื่อนตัวไปได้อย่างช้าๆ แต่สม่ำเสมอ ช่วยลดความเสี่ยงในการตายกลางทาง 4.คลื่นน้ำ ตัวอันตราย.. ปัญหาสำคัญของการขับรถลุยน้ำนั้นไม่ได้เกิดจากตัวน้ำ แต่โดยส่วนใหญ่แล้วเกิดจากเพื่อนร่วมทางทั้งคันหน้า หรือรถที่สวนมานั่นเอง คลื่นเป็นสิ่งที่เลี่ยงไม่ได้เมื่อเราต้องขับรถลุยน้ำ แต่เราต้องพยายามหลีกเลี่ยงการปะทะคลื่น ซึ่งสามารถเกิดระดับน้ำที่สูงผิดปกติ สามารถทำอันตรายต่อชิ้นส่วนเครื่องยนต์ โดยเฉพาะการเข้ากรองอากาศ ซึ่งอาจทำให้น้ำถูกดูดเข้าไปยังเครื่องยนต์นั้น นับว่าเป็นเรื่องสำคัญ อีกประการคงไม่พ้น การทำอันตรายต่ออุปกรณ์ไฟฟ้า โดยเฉพาะ กล่องประมาลผลหลัก ที่หากเกิดการช๊อตก็ไม่ต้องสงสัยเลยว่าได้ตายกลางทางแถมยังมีค่าใช้จ่ายอีกบานตามมาแน่นอน 5.เร่งเครื่องสูง..เรื่องนี้ไม่จำเป็น หลายคนมีความเข้าใจผิดเกี่ยวกับการขับรถลุยน้ำว่า ต้องเร่งเครื่องสูง เพื่อทำให้น้ำไม่สามารถเข้าท่อไอเสียได้แต่ความจริงแล้วนั่นเป็นเรื่องไม่ถูกต้อง ทุกครั้งที่คุณขับรถโดยมีการเร่งเครื่องสูงนั้น เมื่อรอบเครื่องต่ำลงจะทำให้เกิดแรงดันที่น้อยลงในท่อเสีย ผลคือเกิดแรงต้านน้ำลงทำให้น้ำทะลักเข้าท่อไอเสียและสามารถทำให้เครื่องยนต์ดับได้ อีกข้อสำคัญนั้นก็คือการเร่งเครื่องทำให้เกิดความร้อนสะสมในเครื่องสูง แต่ด้วยเราวิ่งอยู่ในน้ำทำให้เครื่องยนต์ที่ร้อนถูกระบายความร้อนอย่างรวดเร็ว ซึ่งทำให้เครื่องยนต์บางประเภทอาจจะปรับตัวไม่ทันแบละสุดท้ายลากลับบ้านเก่า ที่ยังไม่นับระบบระบายความร้อนหม้อน้ำที่จะทำงานเมื่อความร้อนในหม้อที่ถ่ายเทจากเครื่องยนต์สูงด้วย 6.ลดการใช้เบรกในพื้นที่น้ำท่วม เราไม่ปฏิเสธว่าเบรคคือสิ่งเดียวที่ทำให้รถหยุด แต่ในการขับในพื้นที่น้ำท่วมนั้นการใช้เบรกอาจะทให้อันตรายในภายหลังได้ โดยเฉพาะอาการเบรกลื่นซึ่งเกิดขึ้นเมื่อเบรกมีความชื้นสูงหรือเปียกน้ำ ดังนั้น พยายามลดการใช้เบรกในบริเวณน้ำท่วม โดยอาจจะใช้การชะลอความดร็วแทนเมื่อประกอบกับแรงต้านจากน้ำ รถของคุณจะมีเฉื่อยลงอย่างรวดร็ว แต่หากเลี่ยงไม่ได้ในภาวะการจราจรคับคั่งในพื้นที่น้ำท่วมก้ให้ใช้เบรกได้ แต่เมื่อพ้นพื้นที่น้ำท่วมให้ย้ำเบรคบ่อยๆ เพื่อไล่ความชื้น และหลีกเลี่ยงการใช้เบรกหนักๆ ในช่วงระยะเวลาหนึ่ง ทั้ง6 ข้อนี้เป็นทริคในการขับขี่ผ่านพื้นที่น้ำท่วมในสภาวะการณ์ต่างๆ ทว่า ข้อสำคัญสุดนั้นคงไม่พ้นการประเมินสถานการณ์ที่ต้องรู้จักรถเราว่า ขนาดไหนที่จะไปได้ และประมาณไหนที่เราจะไม่สามารถไปได้
ขับรถตะลุยน้ำท่วม ...เคล็ดไม่ลับเมื่อต้องผจญภัยพิบัติ
ป้ายกำกับ:
รถยนต์
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น