เห็ดบนโลกมีหลายหลายพันธุ์ บางชนิดเราก็เคยเห็นประจำ ขณะที่บางชนิดเราก็ไม่เคยเห็นมาก่อน และนี้คือ 10 เห็ดที่ไม่เชื่อว่ามันมีอยู่บนโลก ที่ลักษณะรูปร่างของมันนั้นช่างแปลกประหลาดเหลือจะกล่าว 10. Gyromitra esculenta 9. Gymnosporangium juniperi-virginianae 8. Black Trumpet 7. Earthstar 6. Hydnellum peckii 5. Fungi with flare 4. Bird's Nest fungi 3. Aseroe rubra 2. Shrooms that squiggle and stinks 1. The Devil's Cigar
ภาพที่เห็นเป็นเห็ดที่ชื่อ Gyromitra esculenta เป็นเห็ดสายพันธุ์ False Morels ที่แปลก สายนี้มีหลายชนิด แพร่หลายกระจัดกระจายในยุโรป อเมริกาเหนือ และเอเชียบางประเทศ(รวมถึงไทย) ขึ้นในป่าสน โดยรูปร่างของมันจะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับชนิดและพันธุ์ของมัน โดยลักษณะเด่นคือดอกเห็ดเหมือนรูปสมองมนุษย์ที่มีอาการผิดปกติ เป็นลอนและคลื่นคล้ายสมอง หมวกมีสีน้ำตาล ส่วนเห็ดชนิดนี้กินได้หรือไม่ได้นั้นขึ้นอยู่กับระยะเวลาและวิธีการทำ โดยทั่วไปแล้วเห็ดชนิดนี้เป็นพิษ แต่กระนั้นเห็ดชนิดนี้กินกันในสแกนดิเนเวีย ยุโรปตะวันออกตอนบน โดยจะมีคำแนะนำการทำให้ถูกสุขอนามัยและปลอดภัย นิยมทำเป็นซุปและผัด ส่วนในประเทศไทยเรียกเห็ดชนิดว่าเห็ดสมองวัวพบทางภาคเหนือเป็นเห็ดมีพิษร้ายแรง แต่เมื่อทำแห้งหรือต้มสุกทิ้งน้ำไปหลายครั้ง พิษของเห็ดจะหายไป
เป็นอันดับเดียวในรายการนี้ไม่ใช่เห็ด แต่เป็นตระกูลเชื้อราเหมือนกัน โดยโรคพืชนี้เรียกว่า "โรคแอปเปิ้ลราสนิม" หรือ ( G. juniperi-virginianae ) เป็นโรคที่พบไม่มากนัก มักพบในฤดูฝนหรือฤดูใบผลิตในชายฝั่งตะวันออกของประเทศสหรัฐอเมริกา ในพันธุ์แอปเปิ้ลซีดาน โดยเริ่มแรกเชื้อราจะติดใบ ผลไม้ กิ่งอ่อน โดยหากเป็นผลจะเกิดจุดเล็กๆ สีส้มต่อมาจุดนั้นก็ขยายใหญ่เป็นสีส้มหรือสีแดง ต่อมาก็จุดดังกล่าวจะขยายตัวเป็นตุ่มสปอร์ขนาดใหญ่เหนียวๆ เหมือนเขาสัตว์ สีส้มสดใสจนดูเหมือน "สนิม" เจาะเข้าไปในเนื้อแอปเปิ้ลจนผลแอปเปิลเน่าแห้งตายสีส้มคล้ำ มองภายนอกเหมือนแอปเปิ้ลมีหนามแหลมคม และต่อมาก็เส้นเขาสัตว์นั้นจะขยายใหญ่เป็นเส้นใหญ่ๆ สีเหลืองเหมือนหนวดปลาหมึกคลุมแอปเปิลจนหมด ก่อนที่เชื้อรานี้จะแตกสปอร์ออกปลิวตามลมเพื่อให้แอปเปิ้ลติดเชื้อต่อไป
Craterellus เป็นสกุลเห็ดที่กินได้พบทั่วไปมีความใกล้ชิดกับสกุล Cantharellus (เห็ดมันปูใหญ่) โดยเห็ดชนิดนี้มีความโดดเด่นคือรูปร่างเหมือนแตร หมวกเห็ดเป็นคลื่น ส่วนเห็ดในภาพคือ Black Trumpet(Craterellus cornucopioides)หรือเห็ดแตรดำที่ตั้งตามกรวยแห่งความอุดมสมบูรณ์ของภูตของอมาลเธียตามตำนานของกรีก โดยเห็ดมีสีเข้มเกือบดำและดูไม่สวยงามนัก แต่รสชาติดีมาก มักพบในขึ้นตามซากใบไม้บนพื้นดินตามป่า
เห็ดดาวดิน หรือ Geastrum stipitatus Solms เป็นเห็ดที่พบตามพื้นป่าทั่วไปตามทวีปอเมริกาเหนือหรือประเทศไทยก็มีบ้าง โดยมักขึ้นบนซากเศษขอนไม้ผุทับถมกันหรือเกิดบนขอนไม้ผุ ขึ้นเป็นดอกเดี่ยวอยู่กันเป็นกลุ่ม ดอกเห็ดระยะแก่ผนังด้านนอกดอกเห็ดแตกออกเป็นแฉก มีจำนวนแฉก 6-7 แฉก บริเวณกลางดอกมีลักษณะเป็นก้อนกลมอยู่กลางดอกเห็ด ซึ่งเป็นที่เก็บสปอร์และฟุ้งกระจายตามลมเป็นการกระจายพันธ์ในพื้นที่ใกล้เคียงให้เกิดเป็นเห็ดดอกใหม่
หรือเห็ดฟันเลือด(Bleeding Tooth Fungus เขียนทับศัพท์) เป็นเห็ดที่พบในอเมริกาและยุโรป นอกจากนี้ยังมีรายการการพบประเทศในนอกทวีปยุโรปและอเมริกา ไม่ว่าจะเป็นอิหร่าน(2008) เกาหลี(2010) หากแต่ปัจจุบันเห็ดจำนวนนี้กำลังลดลงเนื่องจากมลพิษในยุโรปกลาง เห็ดชนิดนี้ชอบขึ้นบนพื้นดินบริเวณต้นสนบนภูเขา มักขึ้นเป็นกลุ่มผสม หรือกระจัดกระจาย รูปร่างของมันเหมือนหมวกหรือฟัน ขอบสาว และมีเม็ดสีเหมือนเลือดออกหรือน้ำเชื่อมผลไม้แดงที่กำลังไหลออก เหมือนขนมเดนมาร์กราดด้วยแยมสตรอเบอรี่ หลายคนรู้จักเห็ดนี้ในฐานะสารกันเลือดแข็ง คุณสมบัติคล้ายเฮปาริน ไม่มีพิษ แต่ไม่นิยมกินเพราะขมมาก นิยมทำให้มันแห้งแล้วทำเป็นยามากกว่า
กลุ่มเห็ดกระสือ(Mycena sp.) ซึ่งเป็นเห็ดที่เรืองแสงได้ในเวลากลางคืนกระจายเป็นกลุ่มใกล้กันบนขอนไม้เนื้อแข็ง โดยเห็ดเหล่านี้สามารถเรืองแสงได้โดยสาร "ไรโบฟลาวิน" เปลี่ยนพลังงานทางชีวเคมีให้เป็นพลังงานแสง อาจเห็นเป็นสีขาว สีเขียว หรือสีน้ำเงิน หรืออาจเรืองแสงเฉพาะส่วนใดส่วนหนึ่ง เช่น เรืองแสงเฉพาะที่ครีบในเวลาดอกบานเต็มที่เท่านั้น หรือเรืองแสงทุกส่วนยกเว้นสปอร์ ได้แก่ เห็ดฆ้องเขาเขียว (Chlorosplenium aeruginasens) นอกจากนี้ยังมีเห็ดเรืองแสงหลายชนิดที่ยังรอการค้นพบ ล่าสุดมีการพบพันธุ์ใหม่ของเห็ดเหล่านี้ที่ป่าฝนในบราซิล และส่วนมากเห็ดเรืองแสงนี้มักเป็นเห็ดมีพิษ
เห็ดรังนก หรือเห็ดรังนกกระจอก เป็นเห็ดสายพันธุ์ Nidulariaceae พบในเขตป่าเบญจพรรณ ป่าดิบแล้ง เกิดบนขอนไม้ผุ เกิดดอกเดี่ยวแต่อยู่เป็นกลุ่ม แต่ละกลุ่มหนึ่งพบเป็นจำนวนมากลักษณะดอกเห็ดคล้ายถ้วยหรือรังนกมีไข่เล็กๆ อยู่ข้างใน ซึ่งเป็นโครงสร้างของเห็ดโดยไข่มีรูปร่างกลมสีเทา เส้นผ่านศูนย์กลางขนาด 0.2 มิลิเมตร ขอบปากถ้วยมีความกว้างประมาณ 1 เซนติเมตร ถ้วยสูงจากพื้นประมาณ 1 เซนติเมตร ด้านล่างของขอบถ้วยสอบแคบลงไปเป็นก้านดอกหรือก้นถ้วย ผิวด้านนอกสีน้ำตาลอ่อนปกคลุมไปด้วยเส้นขนหยาบสั้นๆ ผิวด้านในสีดำหรือเทาอมน้ำตาลหรือสีดำ มีเส้นลายนูนยาวขนานกันจากขอบปากถ้วยลงไปที่โคนก้านดอกและสามารถรับประทานได้
เห็ดแสงอาทิตย์(หรือจะเรียกว่าเห็ดดอกไม้ทะเลก็ได้) เห็ดชนิดนี้มีชื่อสามัญในภาษาอังกฤษว่า Aseroe rubraหรือ Stinkornหมายความถึงเชื้อราที่มีกลิ่น เห็ดชนิดนี้มีก้านดอกเห็ดค่อนข้างสั้น สูงเพียง 1-3 เซนติเมตร ดอกเห็ดมีเมือกคล้ายวุ้นบางๆ เคลือบบนผิว ขนาด 5-8 เซนติเมตร และมีแขนเรียวยาวที่มักอยู่เป็นคู่ รวมทั้งหมด 14 อัน คล้ายดาวทะเลหรือดอกไม้ทะเล ยื่นยาวแผ่รัศมีออกไปโดยรอบเป็น 1-2 เท่าของความกว้างของดอกเห็ด ด้านล่างสีขาว ด้านบนสีชมพู บริเวณกลางดอกที่เป็นส่วนเก็บสแอร์มีสีแดงเข้มซึ่งจะแตกปล่อยสปอร์ฟุ้งกระจายออกไป พบได้ทั่วไปในป่าเขตร้อน โดยพบได้ตั้งแต่ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ศรีลังกา สุมาตรา ชวา แทสเมเนีย เม็กซิโก และอเมริกาใต้ พบเฉพาะบนพื้นดินในป่าดิบเขาที่ดินมีความชื้นสูง ทั้งยังประกอบด้วยซากผุพังของอินทรียสารจำนวนมากในประเทศไทยเป็นเห็ดหายากพึ่งมีรายการการพบที่เขาใหญ่ในเร็วๆ นี้เอง
เห็ดปลาหมึก เป็นเห็ดพื้นเมืองพบในที่ชื้นในทุ่งหญ้า หรือป่าผสมผลัดใบระหว่างเดือนกรกฎาคม ถึงเดือนกันยายน พบมากในประเทศออสเตเลียและทัสมาเนีย และมีบ้างในยุโรปและอเมริกาเหนือ จุดเด่นคือมันมีรูปร่างเหมือนมือหรือหนวดแยกออกมา 4-7 อัน หนวดมีลักษณะเรียวยาวสีแดงอมชมพู และกลิ่นของมันเหมือนเนื้อเน่าเหม็น ด้วยเหตุนี้มันจึงสามารถเรียกแมลงวันมาตอม เพื่อการแพร่พันธุ์ ได้ เห็ดชนิดนี้สามารถกินได้ แม้จะเหม็นมากก็ตาม ส่วนใหญ่กินเพื่อเอาชีวิตรอดหากอยู่ถิ่นทุรกันดาร หรือหลงป่า (คือไม่มีอะไรจะกินนั้นแหละ) โดยรสชาติจะเหมือนหัวไชเท้า
เห็ดซิการ์ของปีศาจ หรือเห็ดเท็กซัสสตาร์ เป็นเห็ดหายาก(มากๆ) สกุล Chorioactis พบ เพียงสามแห่งในโลก มีรายงานการค้นพบเห็ดนี้ครั้งแรก เมื่อปี 1893 ในเมือง Austin รัฐเท็กซัส (Texas) ประเทศสหรัฐอเมริกา ต่อมามีการค้นพบอีก 2 แหล่งที่ประเทศญี่ปุ่นในที่ Miyazaki และ Kochi พบเห็ดชนิดนี้ในขอนไม้โอ๊คที่ตายแล้ว ในบริเวณที่มีความชุ่มชื่น ในช่วงระหว่างฤดูใบไม้ร่วงถึงฤดู หนาว รูปร่างของเห็ดจะตูมคล้ายซิการ์สีน้ำตาลหรือสีดำมืด แต่เมื่อแก่แล้วแยกตัวออกมีลักษณะเหมือน รูปดาวหรือกลีบดอกไม้บาน 4-7 แฉก นักวิทยาศาสตร์มีข้อสงสัยว่า ทำไมจึงพบเห็ดนี้ได้เพียง 3 แห่ง ในโลก โดยแต่ละที่ห่างไกลกันถึงครึ่งโลก คนละละติจูด โดยมีสมมุติฐานว่า สปอร์ของเห็ดน่าจะถูก หอบลอยไปโดยกระแสอากาศที่เรียกว่า Asia dust
ที่มา : CAMMY
10 เห็ดประหลาดของโลก
ป้ายกำกับ:
ทั่วไป
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น