ในสภาวะน้ำท่วมใหญ่ที่เกิดขึ้นในหลายพื้นที่ของประเทศในปัจจุบัน ทำให้เกิดปัญหาขาดแคลนระบบสุขาภิบาลและห้องน้ำที่ถูกสุขลักษณะ การจัดทำสุขาชั่วคราวจึง มีความจำเป็นอย่างยิ่งในการดำรงชีวิตของประชาชน ซึ่งมีหลากหลายภาคส่วนได้เข้าไปให้ความช่วยเหลือในการออกแบบ ก่อสร้าง รวมถึงจัดส่งไปเพื่อบรรเทาทุกข์ให้กับพี่น้องประชาชนผู้ประสบภัย อย่างไรก็ตาม เราควรพึงระวังถึงการแพร่กระจายของเชื้อโรคที่อาจเกิด เช่น อหิวาตกโรค ที่อาจก่อให้เกิดปัญหาใหญ่อีกทางหนึ่งต่อไป การป้องกันการแพร่กระจายของโรคระบาด ถือ เป็นปัจจัยที่สำคัญของการจัดทำสุขาทั้งแบบถาวรและแบบชั่วคราว ณ สถานการณ์ปัจจุบัน วิธีการปฏิบัติอย่างง่าย ได้แก่ การเติมสารเคมีลงไปสุขาชั่วคราว โดยเฉพาะส้วมถุงดำเพื่อช่วยในเรื่องการฆ่าเชื้อโรค (Disinfection) และลดการแพร่กระจาย รวมถึงการสะสมตัวของเชื้อโรคในบริเวณน้ำท่วมทั้งในระยะสั้นและระยะยาว เราสามารถฆ่าเชื้อโรคสำหรับสุขาชั่วคราวแบบที่ใช้ถุงดำ และแบบลอยน้ำ ได้ดังนี้ สำหรับ สุขาชั่วคราวที่ใช้ถุงดำ ให้เติมปูนขาว (Ca(OH)2) เพื่อปรับสภาพให้เป็นด่างซึ่งจะช่วยหยุดการทำงานของจุลินทรีย์ จุลินทรีย์ก่อโรคจะถูกกำจัดไปเนื่องจากสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมต่อการเจริญ เติบโต (pH สูงเกินไป) และเมื่อ pH ลดลงมา จุลินทรีย์อื่นๆ ก็สามารถกลับมาทำงานได้ใหม่ซึ่งน่าจะเป็นประโยชน์ในการบำบัดของเสียหลังการ เก็บรวบรวมมาแล้วเพื่อนำไปบำบัดรวม เช่น อาจนำไปทำเป็นปุ๋ยได้ การเติมปูนขาวเพื่อฆ่าเชื้อโรคควรเติมจนกระทั่งได้ค่าพีเอช (pH) ประมาณ 12 หรือประมาณคร่าวๆ คือ 300 กรัมปูนขาว (1 ถ้วย) ต่อ ปริมาตรของเสียประมาณ 10 ลิตร หรือประมาณ 0.3 ลิตรต่อปริมาตรของเสียประมาณ 10 ลิตร ดังนั้น การขับถ่ายใส่ถุงดำควรต้องเผื่อปริมาตรไว้สำหรับการเติมปูนขาวด้วย ใน กรณีที่เลือกใช้ถุงดำขนาด 20 ลิตร ควรใส่ปูนขาวลงไปประมาณ 300 กรัม และน่าจะใช้งานได้ประมาณ 5 - 10 ครั้ง (อาจใช้งานได้ถึง 15 ครั้ง สำหรับกรณีถ่ายหนักอย่างเดียว) สำหรับรูปแบบการเติมปูนขาวอาจทำได้ 3 แบบ ดังนี้ 1. แบ่งเติมทุกครั้งที่ขับถ่าย ประมาณ 15 กรัม หรือ ประมาณ 16 มิลลิลิตรปูนขาว (ประมาณ 2 ช้อนโต๊ะ) ต่อการขับถ่าย 1 ครั้ง ไม่ว่าจะอุจจาระหรือปัสสาวะ) 2. เติมตอนเริ่มต้นครึ่งหนึ่ง (150 กรัม) และหลังจากใช้งานเสร็จ (150 กรัม) ก่อนมัดถุงอีกครึ่งหนึ่ง 3. เติมตอนเริ่มต้นครั้งเดียว (300 กรัม) สำหรับ สุขาชั่วคราวแบบลอยน้ำ เรา สามารถฆ่าเชื้อโรคได้ด้วยการเติมคลอรีน (Chlorine) ลงในถังน้ำใส (หรือถังเก็บกัก) ก่อนปล่อยลงสู่แหล่งน้ำ โดยอาจใช้สารโซเดียมไฮโปคลอไรท์ (NaOCl) ซึ่งมีอยู่ในน้ำยาฟอกผ้าขาว เช่น ไฮเตอร์ หรือ คลอร็อกซ์ ใน ปริมาณ 1 ส่วนต่อน้ำเสียจากถังน้ำใส 50 ส่วน โดยอาจใช้การเจาะขวดพลาสติก และหยดลงในถังน้ำใสอย่างต่อเนื่องทีละน้อย (คล้ายกับระบบการให้น้ำเกลือของแพทย์) โดยใช้ประมาณ 2 ลิตรต่อวันอีกทางเลือกหนึ่ง เราอาจใช้คลอรีนผง Ca(OCl)2 commercial grade 65% Chlorine (ซึ่งมีใช้ในระบบฆ่าเชื้อโรคในสระว่ายน้ำ หรือระบบประปาขนาดเล็ก) ซึ่งมีน้ำหนักเบาและราคาถูกกว่า โดยเติมคลอรีนผงในปริมาณ 1.6 กรัม ในน้ำเสีย 1 ลิตร อย่างไรก็ตาม คลอรีนรวมถึงน้ำยาฟอกขาวสามารถกัดมือและกัดกร่อนโลหะ จึงควรใช้ด้วยความระมัดระวัง และทำในที่อากาศถ่ายเทได้ดี ดังนั้น เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรครวมถึงโรคระบาดที่อาจเกิดขึ้น การฆ่าเชื้อโรคด้วยวิธีการต่างๆ ข้างต้นระหว่างการใช้งานสุขาชั่วคราวแบบต่างๆ นับว่ามีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อสุขภาพอนามัยของผู้ประสบอุทกภัยทุกคน ด้วยความปรารถนาดีจากกลุ่มอาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่มา : http://www.eng.chula.ac.th/?q=node%2F3807 ดาวน์โหลด : http://www.eng.chula.ac.th/files/19.10.54.pdf
โดยข้อที่ 1 เป็นวิธีการที่ดีที่สุด แต่หากไม่สะดวกควรทำข้อที่ 2 หรือ ข้อที่ 3 ตามลำดับ ทั้งนี้ควรใช้ถุงดำ 2 ชั้นเพื่อความแข็งแรงปลอดภัย รวมถึงทำการมัดถุงดำดังกล่าวให้ดีเพื่อป้องกันการปนเปื้อนของสิ่งสกปรกและ ง่ายต่อการนำไปกำจัดต่อไป นอกจากนี้ ในขณะเติมปูนขาวอาจก่อให้เกิดก๊าซแอมโมเนียซึ่งมีกลิ่นฉุน จึงควรทำในที่ที่อากาศถ่ายเทได้ดี สำหรับ การเติมอีเอ็ม (Effective Microorganism, EM) ร่วมกับการใช้สุขาแบบถุงดำนั้น กลไกการทำงานของ EM จะไปเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วในของเสีย ทำให้ประสิทธิภาพในการย่อยสลายสูงในระยะเวลาสั้น ๆ เท่านั้น ทำให้ต้องเติม EM ต่อ ๆ ไปตลอดเวลา นอกจากนี้ยังพบว่า EM ไม่มีผลต่อการฆ่าเชื้อโรคโดยตรง
ข้อเสนอแนะการออกแบบสุขาชั่วคราว ฉบับไม่การ์ตูน
ป้ายกำกับ:
ไอเดีย
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น