คนยากจน Vs คนจนยาก



ถ้าลองสังเกตุดู เราจะพบว่ามนุษย์ส่วนใหญ่มักไม่สนใจ ทำทาน และคงจะเป็นเช่นนี้ทุกยุคทุกสมัย ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ทุกมุมโลกมีคนจนอยู่มากมาย

เรื่องคนจนนี้ พระราชภาวนาวิสุทธิ์ ( หลวงพ่อ ธัมมชโย ) เคยแบ่งไว้ 3 ประเภท ดังนี้


1. คนยากจน หมายถึง คนที่ในอดีดถูกความตระหนี่เข้าครอบงำ วิบากแห่งความตระหนี่จึงผลักสมบัติออกไป ทำให้ลำบากยากจน ดังตัวอย่างเรื่องราว ของพระโลสกติสสเถระ ดังนี้

พระโลสกติสสเถระ เกิดในตระกูลชาวประมง วันที่ท่านเกิดชาวประมงในหมู่บ้านหาปลาไม่ได้แม้แต่ตัวเดียว ต่อมาไฟไหม้หมู่บ้าน 7 ครั้ง ชาวบ้านถูกพระราชาปรับสินไหม 7 ครั้ง มารดาท่านก็หากินฝืดเคือง จึงให้ท่านแยกไปหากินเอง เมื่ออายุ 7 ขวบ ท่านเลือกเก็บข้าวที่เขาทิ้งไว้ เอามากินทีละเม็ด
เมื่ออุปสมบทแล้วเวลา บิณฑบาต ได้ข้าวต้มมาแค่กระบวยเดียว ชาวบ้านก็มองเห็นว่ามีข้าวเต็มบาตร ต่อมา ท่านบำเพ็ญเพียรจนบรรลุอรหัตผล ในวันปรินิพพาน พระสารีบุตรพาท่านไปบิณฑบาต แต่ไม่ได้อะไรเลย แม้แต่คนยกมือไหว้ก็ไม่มี พระสารีบุตรจึงไปบิณฑบาตมาให้และช่วยถือบาตร เอาไว้ขณะท่านฉัน เพราะเกรงว่าถ้าปล่อยให้บาตรจากมือ ในบาตรจะไม่มีอะไรเหลืออยู่

พระพุทธเจ้า ตรัสถึงบุพกรรมของท่านว่า ในอดีดท่านเคยเป็นภิกษุเจ้าอาวาส มีชาวบ้านฝาก ภัตตาหาร ใส่บาตรมาให้พระอาคันตุกะ ซึ่งเป็นพระอรหันต์ แต่ท่านเอาภัตตาหารไปเทใส่กองไฟ ท่านทำลายภัตตาหารของพระอรหันต์ และทำลายการทำทานของชาวบ้าน ด้วยความอิจฉาและความตระหนี่ หวงแม้แม้กระทั่งของที่ไม่ใช่ของตัวเอง จึงต้องไปรับกรรมใน นรก หลายแสนปีเมืองนรก จากนั้นไปเกิดเป็นยักษ์และสุนัขหลายร้อยชาติ แต่ละชาติได้กินอิ่มก่อนตายเพียงมื้อเดียว


2. คนอยากจน หมายถึง คนที่ดำเนินชีวิตด้วยความประมาท ตระหนี่หวงแหนทรัพย์ไม่ได้สั่งสมทานกุศล แม้มีทรัพย์มากก็ไม่ยอม ให้ทาน เพราะกลัวทรัพย์จะหมดไป วิบากกรรมแห่งความตระหนี่ทำให้ต้องไปเป็นคนยากจน จึงเรียกว่า คนอยากจน ดังตัวอย่างเรื่องของอานันทเศรษฐี ดังนี้

อานันทเศรษฐีมีทรัพย์ 80 โกฎิ เป็นคนตระหนี่ และสอนบุตรชื่อมูลสิริให้ตระหนี่ด้วย เมื่อเศรษฐีตายไป วิบากกรรมตระหนี่ ทำให้ใจหม่นหมอง จึงไปบังเกิดเป็นลูกคนจัณฑาล ขณะอยู่ในท้องแม่ แม่หาเงินไม่ได้เลย อาหารจะกินก็ยังไม่ค่อยมี ตระกูลคนจัณฑาลทั้งพันตระกูลในหมู่บ้าน ที่ทำมากินด้วยการรับจ้าง ก็ไม่ได้ค่าจ้างอีกเลย ได้อาหารแค่พอยังชีพเท่านั้น

เมื่ออดีตเศรษฐีคลอดออกมาก็มีรูปร่างหน้าตาน่าเกลียด เหมือนปีศาจคลุกฝุ่น เมื่อเติบโตพอเดินได้ แม่พาไปหากินไม่เคยได้อะไรเลย ชีวิตเต็มไปด้วยความฝืดเคือง แม่จึงให้แยกไปหากินเอง ต่อมาเดินผ่านบ้านที่เคยเกิดเป็นอานันทเศรษฐีก็ระลึกชาติได้ จึงเดินเข้าไปในบ้านที่เคยเป็นของตน

มูลสิริบุตรเศรษฐีก็สั่งให้คนโยนเขาออกมาจากบ้าน พระศาสดา เสด็จบิณฑบาตผ่านมา ตรัสว่า เด็กคนนี้ คือ อานันทเศรษฐี และเขาได้พิสูจน์ตนเองด้วยการบอกขุมทรัพย์ 5 แห่ง ที่เคยฝังไว้ในบ้าน เมื่อครั้งเป็นอานันทเศรษฐีได้ถูกต้อง เพราะไม่รู้จักประโยชน์ของการทำทาน อยากจนโดยไม่ได้ตั้งใจ วิบากกรรมตระหนี่ จึง ออกแบบชีวิต ให้อานันทเศรษฐี ไปเกิดในท้องคนยากจน กลายเป็นคนจน ทันทีในชาติถัดไป

3. คนจนยาก หมายถึง คนที่จะกลับมาจนอีก เป็นไปได้ยาก เพราะหมั่นสั่งสมทานกุศลอยู่เป็นนิตย์ บุญ จากการให้ทานนี้ จะมีอานุภาพดึงดูดโภคทรัพย์สมบัติให้เกิดขึ้น เป็นเสบียงไว้ใช้ในระหว่าง เวียนว่ายตายเกิด ดังตัวอย่างเรื่องของ อนาถบิณฑิกเศรษฐี ดังนี้

อนาถบิณฑิกเศรษฐี เป็นบุคคลอัศจรรย์ในสมัยพุทธกาล บริจาค ทานด้วยการสร้าง เชตวันมหาวิหาร ถวายเป็นที่ประทับของ พระพุทธเจ้าและภิกษุสงฆ์ เพื่อใช้เป็นที่เผยแผ่ พระพุทธศาสนา โดยซื้อที่ดินเป็นเงิน 18 โกฎิ ค่าก่อสร้างวิหาร 18 โกฎิ ค่าฉลองวิหารเป็นเวลา 9 เดือน 18 โกฎิ รวมทั้งสิ้น 54 โกฎิ ( ประมาณ 540 ล้านบาท )

อนาถบิณฑิกเศรษฐี รักการทำทานมาก ถวายภัตตาหาร น้ำปานะ แด่พระภิกษุสามเณรทุกวัน วันละ 2 เวลา เป็นอย่างน้อย ตลอดชีวิต ท่านได้บรรลุธรรมเป็นพระโสดาบัน ถือ ศีล 5 บริสุทธิ์
พระพุทธเจ้า ทรงยกย่องให้ท่านเป็นเลิศกว่าอุบาสก ทั้งหลายด้านการถวายทาน เมื่อละสังขารแล้วได้ไปเกิดใน สวรรค์ ชั้นดุสิต มีทิพยสมบัติอันโอฬาร ภพชาติ เบื้องหน้าจะสมบูรณ์ด้วยทรัพย์สมบัติ รูปสมบัติ และคุณสมบัติ ความยากจนหรือตกต่ำใดๆ จะไม่บังเกิดขึ้นกับท่านอีก ตราบกระทั้งเข้าสู่นิพพาน

ทานของบุคคล 4 กลุ่ม

พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสจำแนกความแตกต่างกันของบุคคล 4 กลุ่ม ที่มีพฤติกรรมในการทำทานแตกต่างกันไว้ดังนี้

1. ผู้ทำทานด้วยตนเอง แต่ไม่ชวนใครทำทานเลย จะร่ำรวยแต่ขาด บริวาร ทำสิ่งใดย่อมสำเร็จโดยยาก

2. ผู้ที่ชวนคนอื่นทำทาน แต่ตัวเองไม่ทำ จะยากจนแต่มีบริวาร พรรคพวก ญาติมิตรมากมาย

3. ผู้ที่ไม่ทำทานและไม่ชวนคนอื่น จะจนทั้งทรัพย์และบริวาร

4. ผู้ที่ทำทานด้วยตนเองและชวนผู้อื่นทำทานด้วย (เพราะอยากให้ผู้อื่นได้บุญ) จะรวยทั้งทรัพย์และบริวาร มีคนคอยสนับสนุนตลอดเวลา จะทำสิ่งใดก็สำเร็จได้โดยง่าย

คำว่า ทาน นี้โดยทั่วไปมักเข้าใจสับสนกับคำว่า บุญ เนื่องจากเรามักจะเรียกการถวายของแด่พระภิกษุว่า ทำบุญแต่เมื่อให้ของแก่คนยากจนหรือคนที่ด้อยก่าตน มักจะเรียกว่า ทำทาน





fwdder




0 ความคิดเห็น:

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม