เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
ทั้งนี้ นิคมอุตสาหกรรมนวนคร ประกอบด้วยบริษัทต่าง ๆ กว่า190 บริษัท มีพนักงานกว่า 2 แสนคน
น้ำทะลักเข้าแนวคันกั้นน้ำส่วนที่ 1 นิคมนวนคร
พล.อ.วิชา ศิริธรรม ที่ปรึกษาและประธานอนุกรรมการฝ่ายกิจการพิเศษ นิคมอุตสาหกรรมนวนคร กล่าวว่า ขณะนี้ น้ำได้ทะลักบริเวณแนวคันกั้นน้ำ ส่วนที่ 1 เสียหาย ประมาณ 5 เมตร เข้าไปในพื้นที่ และกำลังจะเข้าสู่แนวคันกั้นน้ำในส่วนที่ 2 และหากน้ำเข้าท่วมแนวคันกั้นส่วนที่ 2 ได้ น้ำก็จะทะลักเข้าที่นิคมอุตสหกรรมนวนคร ทันที
ซึ่งขณะนี้กำลังประสานกับทางเจ้าหน้าที่ทหาร เพื่อขอให้ทำการยกตู้คอนเทนเนอร์ อุดรอยรั่ว พร้อมกับวางแนวคันกั้นน้ำ ในเบื้องต้นต้องการประมาณ 4 ใบ พร้อมกันนี้ ได้สั่งเตรียมให้อพยพประชาชนในนิคมอุตสาหกรรม ออกนอกพื้นที่แล้ว เกรงว่า หากน้ำเข้ามาจะไม่ปลอดภัย
คันกั้นน้ำแตกนิคมฯ นวนครแตก น้ำสูงท่วมอก
วันนี้ (17 ตุลาคม 2554) เมื่อเวลา 11.30 น. มีรายงานสถานการณ์น้ำท่วมปทุมธานีว่า แนวคันกั้นน้ำบริเวณบ่อบำบัดน้ำเสียของนิคมอุตสาหกรรมนวนคร แตกยาว 5 เมตร โดยขณะนี้น้ำได้ไหลเข้าท่วมโรงงานบางส่วนคือ โรงงานเหล็กเส้น และโรงงานคูโบต้า รวมถึงคันดินกั้นน้ำชั้นที่ 2 ก็ต้านไม่อยู่เช่นกัน น้ำได้ทะลักเข้าบางจุดแล้ว น้ำสูงระดับอก เหลือเพียงชั้นที่ 3 ชั้นสุดท้ายที่จะปกป้องนวนครได้ ซึ่งทางเจ้าหน้าที่กำลังเร่งทำพนังชั้นที่ 3
อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ทางเจ้าหน้าที่ได้เร่งอพยพคนงานออกจากนิคมอุตสาหกรรมนวนครแล้ว
จนท.เร่งทำคันกั้นน้ำนวนครชั้นที่ 2
ความคืบหน้ากรณีพนังกั้นน้ำบ่อบำบัดน้ำเสียของนิคมอุตสาหกรรมนวนคร จ.ปทุมธานี ขณะนี้การทำพนังกั้นน้ำ ชั้นที่ 2 หน้าบริษัทคูโบต้า ซึ่งพนังกั้นน้ำชั้นที่ 1 และ พนังกั้นน้ำที่ 2 อยู่ห่างกันประมาณ 500 เมตร บริเวณจุดห่างมีระดับน้ำสูงถึงประมาณ 2 เมตรและมีโรงงานที่ยังไม่ได้ปิดทำการอยู่ประมาณ 10 โรงงาน ขณะที่มีพนักงานติดอยู่ภายใน ทำให้เจ้าหน้าที่ต้องช่วยกันอพยพออกมาอย่างต่อเนื่อง ส่วนระดับน้ำนอกคันกั้นน้ำในขณะนี้ มีระดับสูงขึ้นกล่าว 50 ซ.ม. และมีปริมาณเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ขณะที่อาสาและพนักงานต่างๆ ช่วยกันเสริมแนวกั้นน้ำอย่างเต็มที่
อย่างไรก็ตาม บรรยากาศในขณะนี้ประชาชนเกิดความอลม่าน หลังน้ำได้ไหลทะลักเข้ามาเป็นครั้งที่ 2 และเจ้าหน้าที่ได้ทำพนังกั้นน้ำเพิ่มขึ้น 2 ชั้นแล้ว
ปชช.หอบของหนีน้ำออกจากนิคมฯ นวนคร
บรรยากาศบริเวณด้านหน้านิคมอุตสาหกรรมนวนคร เมื่อเวลาประมาณ 16.00 น. นอกจากการจราจรทั้ง 2 ฝั่งคับคั่งแล้ว ประชาชนที่เดินทางออกมาจากนิคมอุตสาหกรรมก็มีเป็นจำนวนมากขึ้นด้วย โดยประชาชนส่วนใหญ่หอบหิ้วกระเป๋าหนังสือ กระเป๋าเสื้อผ้า รวมทั้งนำเอกสารสำคัญติดมือออกมาด้วย ทั้งนี้ ประชาชนที่เดินทางออกมา ก็มายืนรอรถบริเวณด้านหน้านิคมอุตสาหกรรมนวนคร ตรงบริเวณโรงพยาบาลนวนคร ขณะที่ประชาชนอีกจำนวนหนึ่ง ก็เดินข้ามสะพานลอยเพื่อไปยังฝั่งตรงข้ามนิคมอุตสาหกรรม เพื่อเดินทางเข้า กทม. รวมทั้งยืนรอรถที่ทางศูนย์ป้องกันช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยจัดเตรียมไว้ จนทำให้สะพานลอยดูแน่นไปถนัดตา ขณะเดียวกัน ทางเจ้าหน้าที่ได้เข้ามาจัดระเบียบการขึ้นลงเพื่อให้การเดินทางเป็นไปอย่าง เรียบร้อย
อย่างไรก็ตาม เนื่องจากประชาชนที่เดินทางข้ามถนนมีเป็นจำนวนมาก ทางเจ้าหน้าที่จึงได้อำนวยความสะดวกด้วยการให้ประชาชนข้ามถนนโดยมีเจ้า หน้าที่ให้การดูแล และในขณะนี้ พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ ดามาพงศ์ รักษาราชการแทนผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ก็ได้เดินทางมาดูแลความปลอดภัยให้กับประชาชนในครั้งนี้ด้วย
สำหรับความคืบหน้าของการอพยพประชาชนจากนิคมอุตสาหกรรมนวนคร ไปยังศูนย์พักพิงที่ทางศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย (ศปภ.) จัดเตรียมไว้ เป็นไปด้วยความยากลำบาก เพราะด้วยสภาพการจราจรบริเวณถนนพหลโยธิน ด้านหน้าของนิคมอุตสาหกรรมนวนคร การจราจรค่อนข้างจะคับคั่ง ทำให้รถที่ทาง ศปภ. จัดเตรียมไว้ เข้ามาในพื้นที่เข้ามาไม่ค่อยคล่องตัวนัก แต่เจ้าหน้าที่ตำรวจก็อำนวยความสะดวกอย่างเต็มที่ อย่างไรก็ตาม เมื่อรถประจำทาง ขสมก. ซึ่งเป็นรถที่ทาง ศปภ. จัดเตรียมไว้มาถึง ประชาชนก็กรูขึ้นรถทันที
รมว.อุตฯ ยันรักษานวนครเต็มที่ เสียหายเบื้องต้น 227 โรงงาน
น.พ.วรรณรัตน์ ชาญนุกูล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ยืนยันว่ารัฐบาลจะป้องกันและต่อสู้กับสถานการณ์น้ำท่วมให้ถึงที่สุด โดยเฉพาะนิคมอุตสาหกรรมนวนคร ที่ล่าสุด น้ำได้ทำลายแนวคันกั้นน้ำชั้นที่ 1 ไปแล้ว แต่ขณะนี้ก็ได้เร่งสร้างแนวคันกั้นน้ำชั้นที่ 2 และ 3 เพื่อไม่ให้น้ำไหลเข้าท่วมพื้นที่สำคัญของนิคม ส่วนบริษัทที่ได้รับความเสียหายเบื้องต้นมีจำนวนกว่า 227 โรงงาน พนักงานได้รับผลกระทบกว่า 180,000 คน ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้สั่งการในที่ประชุมว่าให้ทุกฝ่ายระดมความช่วยเหลือ และแก้ไขฟื้นฟูนิคมอุตสาหกรรมต่าง ๆ โดยเร็ว ทั้งผู้ประสบภัยในส่วนของภาคอุตสาหกรรมและภาคแรงงาน รวมถึงจะมีมาตรการยกเว้นภาษีให้โรงงานที่ได้รับผลกระทบอย่างเท่าเทียมกัน แม้จะเป็นโรงงานที่มีพื้นที่อยู่ห่างไกลกรุงเทพมหานคร ก็ตาม
นอกจากนี้ น.พ.วรรณรัตน์ ยังยอมรับว่า เงินงบประมาณที่แต่ละกระทรวงได้รวบรวมไว้มาเป็นกองทุนสำรองในการชดเชยและฟื้นฟูจำนวน 80,000 ล้านบาทนั้น อาจจะมีไม่เพียงพอ ซึ่งจะหามาตรการในการหาเงินทุนต่อไป
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก
ประชา สั่งนิคมฯ นวนคร ปิดเครื่องจักร ขนขึ้นที่สูง
ประธาน ศปภ. สั่ง นิคมนวนคร ปิดเครื่องจักร อพยพขึ้นที่สูง หลังน้ำไหลบ่าเข้าท่วมแล้ว ร้อยละ 10 ของพื้นที่ แต่น้ำสูงระดับอกแล้ว!! เร่งทำพนังชั้น 3
วันนี้ (17 ตุลาคม 2554) พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ในฐานะประธานศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบภัย (ศปภ.) เปิดเผยว่า ล่าสุด ได้สั่งการให้นิคมอุตสาหกรรมนวนคร ปิดเครื่องจักร และอพยพของและคนขึ้นที่สูงแล้ว เพราะล่าสุด น้ำได้ไหลบ่าลงมาเข้าท่วมประมาณร้อยละ 10 ของพื้นที่ทั้งหมด โดยตอนแรกตนตั้งใจเข้าไปเยี่ยมประชาชนในบริเวณดังกล่าว แต่เข้าพื้นที่ไม่ได้
ป้ายกำกับ:
ข่าวเด่น
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น