จากนั้นก็สมาธิคือความสงบเย็นใจ พยายามบำเพ็ญภาวนาพุทโธ ธัมโม สังโฆ บทใดก็ตาม อานาปานสติก็ตาม ให้พยายามบำเพ็ญ คำว่าพุทโธกระเทือนถึงพระพุทธเจ้าทุกๆ พระองค์เป็นของน้อยเมื่อไร ธัมโมก็เหมือนกัน พระพุทธเจ้าตรัสรู้-ตรัสรู้ธรรมทั้งนั้นกระเทือนทั่วแดนโลกธาตุ สังโฆพระสาวกของพระพุทธเจ้ากี่พระองค์กระเทือนไปหมดเลย
บริกรรมคำว่าพุทโธ ธัมโม สังโฆ จึงเป็นของอัศจรรย์มาก ให้เรานำนี้มาภาวนา วันหนึ่งๆ อย่าให้ขาดจากการภาวนา อย่างน้อยให้ได้สัก ๕ นาทีก็ยังดี ถ้าให้พอดิบพอดีเราเสมอต้นเสมอปลายไปธรรมดานี้วันหนึ่งได้ ๑๐ นาทีก็พอดีละ
เรียกว่าร้อยนาทีนั้น ๙๐ นาทีให้กิเลสเอาไปกินเสีย เราแบ่งเอาเสียวันละ ๑๐ นาที แล้วทีนี้น่าคิดอีกนะว่ามันพอกันไหมล่ะ วันหนึ่งเราได้ ๑๐ นาทีกิเลสเอาไป ๙๐ นาทีๆ นี้สมควรแล้วเหรอ นี่จะทำให้เราได้ขยับตัวของเราขึ้นไปเรื่อยๆ และสำรวมระวังความดีความชั่วภายในจิตใจของตัวเอง ที่จะแสดงออกในที่แห่งเดียวกันได้มากขึ้นๆ สุดท้ายจิตใจก็เป็นศีลเป็นธรรม
: หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน
แสงธรรมส่องใจ
ผู้มีศีล-ไม่กลัวเสือ ไม่กลัวตาย
ผู้มีศีล-ไม่กลัวเสือ ไม่กลัวตาย
การปฏิบัติธรรมนั้นมีหลายขั้นหลายภูมิ ที่กล่าวมาเหล่านี้เป็นขั้นทั่วๆ ไป ส่วนมากเป็นทางฝ่ายฆราวาส ทางด้านฝ่ายพระนั้นเน้นหนักลงทางศีลทางสมาธิทางปัญญา ให้เห็นสดๆ ร้อนๆ ภายในจิตใจ
ศีลเป็นยังไงศีลของผู้รักษาบำเพ็ญจริงๆ ศีลจะเป็นเครื่องอบอุ่นใจมากทีเดียว ไปอยู่ในป่าในเขาไม่กลัวสัตว์กลัวเสือ เพราะแต่ก่อนเสือชุมมากทีเดียว ไปที่ไหนมีแต่สัตว์แต่เสือทั้งนั้น ผู้มีศีลบริสุทธิ์บริบูรณ์แล้วไม่กลัว ตายก็จะไปสวรรค์ทันทีเป็นที่แน่อยู่ภายในจิตใจ นี่ละศีลเป็นคุณค่าแห่งความเย็นใจปรากฏแก่ตัวของเราเอง
ป้ายกำกับ:
ธรรมะ
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น