ในช่วงที่ผ่านมานั้น เราต้องยอมรับว่า พวกเราหลายคนที่กำลังจะซื้อรถยนต์คันใหม่ มาประจำการที่บ้านนั้น ค่อนข้างจะมองอะไรมไลึกซึ้งมากมายนัก โดยเฉพาะ อย่างยิ่ง ในเรื่องของการเลือกรถ ที่ส่วนหนึ่งนั้นยังไม่มีเรื่องของขนาดเครื่องยนต์ ซึ่ง เป็นประเด็สำคัญ ที่ส่งผลถึงเรื่องเงินในกระเป๋าอย่างค่าเชื้อเพลิง ที่ต้องควักจ่ายเป็นประจำด้วย
น้อยคนนักที่มักจะคิดว่าขนาดเครื่องยนต์ของรถยนต์นั้น สำคัญ แม้ปัจจุบัน ความประหยัดนั้นจะถูกเบนประเด็นสนใจไปที่พลังงานทางเลือกทั้งน้ำมันแก๊สโซ ฮอลล์ หรือแม้แต่แก๊สเองก็ตาม ที่ความจริง ความประหยัดนั้น คือการเลือกรถที่เราใช้งานได้อย่างคุ้มค่าลงตัว และเหมาะสมกับการเดินทางที่เราใช้งานประจำต่างหาก
การเลือกเครื่องยนต์ให้เหมาะสมต่อการใช้งาน นั้น นับว่าเป็นโจทย์สำคัญ ส่วนหนึ่งด้วยค่านิยมคนไทยที่มองว่าเครื่องใหญ่นั้นต้องวิ่งดีกว่า ซึ่งแน่นอนว่ามันก็ไม่ได้ผิดที่คิดเช่นนั้น แต่ปัจจุยบัน เครื่องยนต์สมัยใหม่ถูกพัฒนาให้มีการตอบสนองที่ดี แม้จะมีขนาดเล็กก็ตาม แล้วคำถามคือเราจะเลือกรถขนาดไหน ที่เหมาะสมต่อการใช้งาน ที่วันนี้ เรามีปัจจัยสำคัญๆ ที่อาจจะช่วยคุณตอบโจทย์นี้ได้
สภาวะการขับขี่ของคุณ
การซื้อรถนั้นเป็นเรื่องง่าย แต่การซื้อรถที่นำมาใช้งานได้อย่างคุ้มค่านั้นต้องยอมรับว่าเป็นเรื่องที่ ยากกว่า และแน่นอนว่า เครื่องยนต์คือส่วนหลักนอกจากการออกแบบของตัวรถที่คุณควรจะต้องนึกถึง และคิดให้ดี
ปัจจุบันรถยนตืนั้นมีการแบ่งแยกชั้นกันอย่างเป็นระบบมากขึ้น เครื่องยนต์มีตั้งแต่ขนาดเล็ก 1000 ซีซี ไปจนถึงขนาดใหญ่ที่พบได้ในรถสปอร์ต แต่ความจริงแล้ว เครื่องยนต์นั้นถูกออกแบบมาให้ตอบสนองการใช้งานในรถแต่ละขนาดอยู่แล้ว
ข้อสำคัญของการเลือกซื้อโดยเฉพาะการเลือกขนาดเครื่อยนต์นั้นควรดูสภาวะ การใช้งานที่จะเกิดขึ้นจริงในอนาคตข้างหน้าเป็นสำคัญ และถ้ามองไม่ออกว่า เส้นทางที่ขับปัจจุบันนั้นแบบไหนจะคุ้มค่า ลองดูตามนี้
เครื่อง 1.2- 1.5ลิตร เน้นการใช้งานในเมือง ออกท่องต่างจังหวัดเป็นครั้งคราว ทางยาวไม่บ่อยเน้นทางสั้นความเร็วไม่สูงมากนัก
เครื่อง 1.6-1.8 ลิตร เน้นการใช้งานระยะกลาง ตัวอย่างเช่นบ้านอยู่ชานเมืองทำงานในเมือง ใช้ทางยาวบ้างเป็นบางครั้ง ออกต่างจังหวัดถี่หน่อย แต่ไม่บ่อยมาก เน้นความลงตัวทั้งสมรรถนะและการประหยัดเป็นสำคัญ
เครื่อง2.0- 3.5 ลิตร และมากกว่านั้น เน้นขับทางยาวบ่อยครั้ง สาวกทางด่วนขาประจำ ไปกลับต่างจังหวัด บ่อยๆ แทบทุกสัปดาห์ ไม่ค่อยได้ใช้งานในเมืองมากนัก โดยมาก รถกลุ่มนี้ มักเป็นคันที่ 2 ของ บ้าน หรือ ถ้าใช้งานบ่อยครั้ง เครื่อง 2.0-2.4 ลิตร จะตอบโจทย์ได้ดีกว่า เรื่องความประหยัด
จำนวนคนนั่งและบรรทุก
เมื่อดูสภาวะการขับขี่ที่เราน่าจะได้ใช้งานเป็นประจำแล้ว ประการต่อมา เราต้องมาคำนึงถึง การนั่งและการบรรทุก ที่จะเกิดขึ้นจริงในอนาคตด้วย โดยเฉพาะคนที่จะเดินทางกับเราเป็นประจำ อาจจะมองถึงเพื่อนขาเที่ยวอะไรแบบนี้ด้วยก็ดี
ตามปกติแล้วรถยนต์ส่วนใหญ่นั้นจะมีการเซทขนาดเครื่องยนต์มาพอดีกับการใช้ งานอยู่แล้ว ซึ่งโดยมากจะมีการเซทให้สามรถรับน้ำหนักกับการนั่งหรือบรรทุก ที่จะเกิดขึ้นจริงจากผู้ใช้ ทว่าท้ายที่สุดแล้วหลายคนจะพบว่ามันอืดอาดกว่าที่เป็น
การเลือกเครื่องยนต์นั้นต้องดูสิ่งของที่บรรทุกด้วย โดยเฉพาะ น้ำหนักตัวของเรา และสิ่งของที่เราพกไปด้วยประจำ หรือน่าจะวางหรือได้ใช้เป็นประจำ ซึ่งหากคุณต้องมีการบรรทุกบ่อยครั้ง ลองมองรถยนต์ที่มีเครื่องยนต์ที่มี ซีซีสูงเข้าไว้แต่ไม่ต้องโอเวอร์ เพราะเครื่องยนต์ซีซีสูง แม้จะมีค่าตัวแพงกว่าแต่จะทำกำลังและแรงบิดดีกว่า ทำให้ไม่ต้องมานั่งอารมณ์เสีย ยามขับขี่และช่วยมั่นใจได้ในยามคับขัน
ดีเซล-เบนซินต่างกัน ควรจำให้ดี
หลายคนมักมองว่ารถเก๋งนั้นความสบายและนุ่มนวลในการขับขี่นั้นต้องหาได้ จากเครื่องยนต์เบนซินเพียงอย่างเดีย วแต่ปัจจุบันเครื่องยนต์ดีเซล ก็ก้าวเข้ามามีบทบาทได้รับการยอมรับแพร่หลายมากขึ้น อย่ามัวงมงายกับความเชื่อเก่าๆ
เครื่องยนต์ดีเซลนั้นมีข้อดีสำคัญอยู่หลายประการ โดยเฉพาะในส่วนของแรงบิดจะให้กำลังดีกว่าในรอบต่ำ และในขณะเดียวกันยังไม่จำเป็นต้องใช้รอบสูงในการขับขี่ ทำให้รถเครื่องดีเซลนั้นมีความประหยัดมากขึ้น และจะดียิ่งขึ้น ถ้าขับทางไกล
ความแตกต่างระหว่างเครื่องยนต์เบนซินและดีเซล นั้นก็เป็นโจทย์ที่น่าคิดไม่แพ้กัน เพราะปัจจุบัน บางครั้งราคาก็ไม่ได้ต่างกันมาก แถมบางรุ่นยังเป็นตัวท๊อปของรถยนต์รุ่นนั้น การตัดสินใจว่าจะเลือกเครื่องยนต์แบบไหนดี อย่ามองเพียงขนาดเท่านั้น แต่ควรมองแรงบิดเป็นโจทย์สำคัญ เพราะหลายครั้งเครื่องยนต์ดีเซลที่มีขนาดเล็กกว่าจะมีแรงบิดดีกว่ าเครื่องเบนซินในขนาดที่เท่ากัน แต่กลับกันมันก็ให้แรงม้าที่น้อยกว่า
ทั้งนี้การเลือกขนาดเครื่องยนต์ นั้นควรพิจารณาให้ดีก่อนซื้อ เพราะหลายครั้งที่เราพบว่ าซื้อรถมาขับแล้วบอกว่าอืดบ้างว่า ซดน้ำมันอย่างรับไม่ได้ แต่ความจริงแล้วทุกอย่างมันอยุ่ที่คุณลือกซื้อและตัดสินใจ สำคัญคือควรเลือกให้ดี
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น