เรื่องเศร้าๆ ก้าวเข้ามาในชีวิตเราได้เสมอ ไม่มีเลือกเวลา อาจจะคนรักตาย หมาหาย ตกงาน เพื่อนหักหลัง แต่เมื่อความเศร้ามาเคาะประตู จะทำอย่างไรล่ะถึงจะผ่านมันไปได้
1. ยอมรับความรู้สึกของตัวเอง อย่าพยายามผลักอารมณ์หรือความรู้สึกออกไป จิตแพทย์เขาบอกว่าขั้นแรกของการรักษาสภาพจิตใจก็คือเราต้องแยกแยะอารมณ์และความรู้สึกของตัวเองได้ ไม่ว่าจะเป็นความเศร้า ความโกรธ ความรู้สึกผิด หรือความรู้สึกอื่นๆ จงยอมรับเมื่อมันเกิดขึ้น อย่าหลอกตัวเอง
2. แบ่งเวลาหาความสงบ กำหนดเวลา 15 นาที ในแต่ละวันให้เป็นเวลาที่ทำใจให้ว่าง โดยควรจะเป็นเวลาเดียวกันทุกวันเพื่อให้จิตใจเกิดระบบของมันเอง
3. สร้างเครื่องเตือนความทรงจำ ถ้าเรื่องเศร้าเกิดขึ้นเพราะคุณต้องสูญเสียคนรัก สัตว์เลี้ยง หรือแม้แต่สถานที่แห่งความทรงจำไป คคุณควรจะทำอะไรเล็กๆ น้อยๆ ที่ช่วยให้คุณระลึกถึงเขา การได้ทำอะไรเพื่อเขาบ้างจะทำให้คุณได้ปลดปล่อยความคิดถึงออกไป
4. หาวัตถุแทนคำทางใจ อาจเป็นสิ่งของที่มีความหมายพิเศษและทำให้คุณรู้สึกว่าได้อยู่ใกล้กับสิ่งที่คุณสูญเสีย ซึ่งจะเป็นสิ่งที่คุณจะทะนุถนอมไว้ในใจตลอดไป
5. บอกเล่าเรื่องราวของคุณ เพื่อว่าผู้อื่นที่ประสบเหตุการณ์เดียวกันจะได้ไม่รู้สึกเดียวดาย และตัวคุณเองก็จะได้รู้ว่าไม่ได้ใช่คุณคนเดียวที่ต้องผจญกับความทุกข์
6. ระบายความเศร้าออกมากับการวาดภาพ เล่นดนตรี เขียนบันทึก
7. กอดและปลอบโยนคนอื่นซึ่งกำลังเศร้าจากการสูญเสีย
8. ทำตัวให้เป็นประโยชน์มากขึ้น เพราะการทำตัวให้มีคุณค่าจะเป็นตัวกระตุ้นให้คุณเห็นค่าของการมีชีวิตอยู่ต่อไป ไม่สิ้นหวังหรือคิดจะตายตามสิ่งที่รักไป
9. อย่าอยู่คนเดียว ควรออกไปพบปะเพื่อนฝูง หรือแม้แต่ออกไปร้องไห้กับเพื่อนก็ยังดี
10. สนุกสนานกับสิ่งเล็กๆ น้อยๆ
11. มีความอดทนกับทุกๆ คนที่คุณพบให้มากขึ้น
12. แสดงความรักให้บ่อยขึ้น ไม่ต้องอายที่จะบอกให้คนที่คุณรักรู้ว่าเขามีค่าสำหรับคุณมากแค่ไหน
13. กำหนดมุมมองว่าอะไรคือสิ่งที่สำคัญที่สุดในชีวิต
14. ใช้ชีวิตให้เต็มที่ทุกวันอย่างมีค่าและมีความหมาย คิดซะว่าใช้ชีวิตแทนคนที่คุณรัก ที่เขาไม่มีโอกาสอย่างคุณแล้ว จะทำให้คุณเห็นแง่มุมงดงามของชีวิตได้มากขึ้น
15. อนุญาตตัวเองให้ร้องไห้ให้เต็มที่ แต่ร้องแค่วันสองวันเท่านั้น การร้องไห้เป็นการปลดปล่อยที่ดี แต่ถ้าปล่อยให้ร้องไม่รู้จักจบสิ้น คุณอาจจะกลายเป็นโรคซึมเศร้าไป อย่าลืมว่าชีวิตต้องดำเนินต่อไปไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้นก็ตาม
ที่มา ... spicy
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น