“ชุมชนบ้านพระบาทห้วยต้ม” มากหลายวัฒนธรรม ผูกพันพุทธศาสนา


พระมหาธาตุเจดีย์ศรีเวียงชัย
"ลำพูน" จังหวัดเล็กๆอันสงบงามที่แม้จะถูกมองเป็นเมืองผ่านใน สายตาของคนส่วนใหญ่ แต่จังหวัดเล็กๆแห่งนี้ กลับมีเรื่องราวเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของแผ่นดินล้า นนามาอย่างยาวนาน ตั้งแต่ครั้งอดีตในฐานะดินแดนแห่งพระพุทธศาสนาที่มีค วามเจริญรุ่งเรืองมาก ว่า 600 ปี จึงทำให้ลำพูนมีศาสนสถาน วัดวาอารามจำนวนมาก รวมถึงมีความหลากหลายทางด้านวัฒนธรรม และวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนที่น่าสนใจ ชวนให้เดินทางมาศึกษาและเที่ยวชมกัน

โดยหนึ่งในสถานที่ที่น่าสนใจ ชวนให้เดินทางไปเที่ยวเพื่อรับรู้ได้ถึงเรื่องราวของ วีถีชีวิตของผู้คนที่มี ความผูกพันกับพระพุทธศาสนาเป็นอย่างมาก นั่นก็คือที่ "ชุมชนบ้านพระบาทห้วยต้ม" ตั้งอยู่ที่ ต.นาทราย อ.ลี้

น้องแมงปอ ชาวปกาเกอะญอเป็นมัคคุเทศก์
ชุมชนบ้านพระบาทห้วยต้ม เป็นชุมชนที่มีชาวปกาเกอะญอ อาศัยอยู่ โดยเมื่อปีพ.ศ. 2514 ชาวปกาเกอะญอได้อพยพมาจากแม่ตื่น อ.แม่ระมาด จ.ตาก พากันอพยพเข้ามาอาศัยอยู่ใกล้วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม จำนวน 13 ครอบครัว ซึ่งการอพยพในครั้งนี้ทุกคนมีความตั้งใจที่อยากจะมาอ ยู่ใกล้ชิดกับหลวงปู่ ครูบาชัยยะวงศาพัฒนา(ครูบาวงศ์) เพื่อจะได้ทำบุญถือศีลปฏิบัติธรรมกับหลวงปู่ และหลังจากนั้นเป็นต้นมาชาวปกาเกอะญอก็ได้อพยพเข้ามา อยู่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ส่วนใหญ่มาจากตาก เชียงใหม่ และแม่ฮ่องสอน

ถึงแม้ว่าหลวงปู่ครูบาวงศ์จะมรณภาพไปแล้ว แต่ว่าทุกวันนี้ชาวปกาเกอะญอที่อาศัยอยู่ในชุมชนบ้าน พระบาทห้วยต้มทุกคนก็ ยังนับถือและยึดถือปฏิบัติแต่สิ่งที่ดีงามที่หลวงปู่ ฯ สั่งสอนไว้เสมอ จึงทำให้ที่นี่ยังคงเป็นชุมชนแห่งพระพุทธศาสนาที่ถ้า มาเที่ยวแล้วได้จะได้ ซึมซับความงดงามของวิถีชิวิตชาวปกาเกอะญอที่มีต่อพระ พุทธศาสนาผ่านสถานที่ ท่องเที่ยวที่สำคัญๆ มากมายภายในชุมชน ซึ่งหากมาเที่ยวแล้วทางชุมชนพระบาทห้วยต้มก็จะมีมัคค ุเทศก์น้อยเป็นผู้พา เที่ยวชุมชนได้เป็นอย่างดี

การแต่งกายของชาวปกาเกอะญอ
“น้องแมงปอ : จารวี คงคารื่นฤดี” ชาว ปกาเกอะญอเป็น หนึ่งในมัคคุเทศก์น้อยที่จะคอยพานักท่องเที่ยวเที่ยว ชมชุมชนบ้านพระบาทห้วย ต้มตามสถานที่ต่างๆ และพร้อมจะให้ข้อมูลได้อย่างดีเยี่ยม เธอได้บอกเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับชาวปกาเกอะญให้รู้ว่ า ชุมชนบ้านพระบาทห้วยต้มมีชาวปกาเกอะญออยู่ 2 เผ่า คือ“ปกาเกอะญอโป”ที่ย้ายมาจากแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ และ“ปกาเกอะญอสะกอ”ที่ย้ายมาจากตาก แต่ว่าที่ชุมชนนี้จะมีปกาเกอะญอโปมากกว่า

ชาวปกาเกอะญอที่นี่มีวัฒนธรรมที่โดดเด่น อย่างเช่น การแต่งกายจะมีชุดพื้นบ้านปกาเกอะญอ เป็นชุดผ้าทอที่ทอด้วยกี่เอว และทอเป็นชุดยาวมีลวดลายที่สวยงามตามความถนัด แล้วตกแต่งด้วยพู่ให้มีความสวยงามมากยิ่งขึ้น แต่ถ้าเป็นชุดสำหรับคนที่แต่งงานแล้วก็จะใส่ชุดแบบเป ็นเสื้อครึ่งท่อนแล้วมี ผ้าถุง ถ้าเป็นเด็กผู้ชายจะใส่กางเกงและใส่เสื้อสีแดงครึ่งท ่อน

มณฑปพระเจ้าเก้าตื้อ
"คนที่นี่ทั้งชุมชนส่วนใหญ่จะกินมังสวิรัติกัน เพราะว่าหลวงปู่บอกว่าถ้าเราเบียดเบียนสัตว์อีก สัตว์ก็จะมาเบียดเบียนเราอีก โรคภัยไข้เจ็บก็จะตามมาอีก ถ้าเรากินมังสวิรัติเราก็ไม่ได้เบียดเบียนใครก็เลยกิ นกันมาจนถึงทุกวันนี้ และประเพณีของทางหมู่บ้านก็มีหลายประเพณี แต่ประเพณีที่เด่นคือการเปลี่ยนผ้าครูบา เป็นงานใหญ่ทำที่วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม ระหว่างวันที่ 15-17 พ.ค. ของทุกปี แล้วก็มีพิธีทรงน้ำรอยพระพุทธบาทที่วัดพระพุทธบาทห้ว ยต้มทำในช่วงวัน สงกรานต์" น้องแมงปอ พูดถึงวัฒนธรรมและประเพณีของชาวปกาเกอะญอให้ฟังอย่าง ภาคภูมิใจ

พระพุทธรูปพระเจ้าเก้าตื้อจำลองประดิษฐานอยู่ในมณฑป
สำหรับสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญหลายแห่งที่ตั้งอยู่ ภายในชุมชนพระบาทห้วยต้ม สถานที่แรกคือ “พระมหาธาตุเจดีย์ศรีเวียงชัย” เป็นเจดีย์ขนาดใหญ่สีเหลืองทองงามอร่ามตั้งโดดเด่นเห ็นได้แต่ไกล และเป็นเจดีย์ที่ชาวปกาเกอะญอให้ความเคารพศรัทธาเป็น อย่างยิ่ง

"พระมหาธาตุเจดีย์ศรีเวียงชัยแห่งนี้ หลวงปู่ครูบาวงศ์สร้างขึ้น เพราะว่าเมื่อก่อนที่ตรงนี้มีการขุดค้นพบมูลและเขาขอ งพระโคอุศุภราชก็คือ เป็นพระชาติหนึ่งของพระพุทธเจ้าซึ่งกลายสภาพเป็นหิน ท่านก็เลยอธิษฐานสร้างครอบมูลและเขาของพระโคไว้ และจำลองรูปแบบมาจากเจดีย์ชเวดากองที่ประเทศพม่า" น้องแมงปอ อธิบาย

วิหารพระเมืองแก้วที่เก็บพระสรีระหลวงปู่ครูบาวงศ์
หากได้เข้ามายังพระมหาธาตุเจดีย์ศรีเวียงชัยจะได้เห็ นถึงความยิ่ง ใหญ่และความศรัทธาของชาวปกาเกอะญอที่มีต่อพระพุทธศาส นาเป็นอย่างมาก พวกเขาจะถอดรองเท้าตั้งแต่หน้าประตูวัดแล้วเดินเท้าเ ปล่ามาถึงยังองค์เจดีย์ ที่อยู่ด้านใน เพราะชาวปกาเกอะญอมีความเชื่อว่าการที่เดินติดเอาทรา ย เอาอะไรจากวัดออกไปเป็นสิ่งที่ไม่ดี เป็นบาป และพวกเขาก็จะมาทำบุญกันทุกวันพระ ตอนเช้ามีการใส่บาตร ตอนเย็นสวดมนต์ภาวนาและเวียนเทียน ถ้าเป็นวันธรรมดาตอนเช้าก็จะใส่บาตรและตอนเย็นก็สวดม นต์ภาวนา แต่ไม่มีการเวียนเทียน และนอกจากที่เจดีย์แล้วที่วัดก็ยังมีการใส่บาตรเวียน เทียน แล้วแต่ว่าใครใกล้ที่ไหนก็ไปที่นั่น

ที่มาของชื่อพระมหาธาตุเจดีย์ศรีเวียงชัยนี้ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปรินายก เป็นผู้ประทานนามให้ เริ่มก่อสร้างเมื่อปี พ.ศ.2538 แล้วเสร็จในปี พ.ศ.2548 สร้างด้วยศิลาแรงทั้งองค์ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ใช้งบประมาณก่อสร้างประมาณ 275 ล้านบาท มีพระมหาเจดีย์องค์ใหญ่เป็นองค์ประธานอยู่ตรงกลาง มีความสูงจากพื้นถึงบัวยอดฉัตร 71 เมตร มีฐานกว้าง 1 ไร่ บนยอดฉัตรของเจดีย์ทำด้วยทองคำหนัก 25 กิโลกรัม เป็นพระเจดีย์ประจำปีเกิดของคนเกิดปีมะเมีย และมีพระเจดีย์องค์เล็กอยู่เป็นบริวารล้อมรอบรวม 48 องค์ โดยแบ่งพระเจดีย์องค์เล็ก 10 องค์แรกเป็นเจดีย์ประจำปีเกิด 10 ปีนักษัตร พระเจดีย์องค์เล็ก 28 องค์ หมายถึงพระพุทธเจ้า 28 พระองค์ที่ล่วงมาแล้ว และมีเจดีย์องค์เล็กที่เหลือ 10 องค์ หมายถึงพระพุทธเจ้า 10 องค์ ที่จะมาตรัสรู้ในอนาคต

รอยพระพุทธบาท ที่วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม
ภายในเจดีย์นอกจากจะบรรจุเขาและมูลของพระโค ยังบรรจุพระพุทธรูปที่มีขนาดหน้าตักกว้าง 9 นิ้ว จำนวน 84,000 องค์เท่ากับจำนวนพระธรรมขันธ์ และรอบในกำแพงบรรจุพระพุทธรูปประจำวันเกิดของแต่ละวั น รอบนอกกำแพงมีรูปปั้นเกจิอาจารย์ทั่วทุกสารทิศ และมีดอกบัว 16 ดอกที่แต่ละดอกบรรจุพระพุทธรูปจำนวน 49 องค์ ส่วนด้านนอกมีระฆังให้ตีซึ่งมีความเชื่อว่าถ้าไปตีแล ้วมีเสียงไปถึงสวรรค์ ชั้นดาวดึงส์ ถ้าเกิดมาชาติหนึ่งภพใดก็จะมีเสียงที่ไพเราะน่าหลงให ล

จากนั้นมาชมสถานที่อีกแห่งที่มีความสำคัญและเป็นศูนย ์รวมจิตใจของชาวบ้านปกาเกอะญอ นั่นคือ ใจบ้าน หรือสะดือเมือง หลวง ปู่ครูบาวงศ์สร้างขึ้นเพื่อ เป็นจุดศูนย์กลางเป็นสิ่งยึดเหนี่ยวทางจิตใจของคนในช ุมชนฯ ด้านในเป็นเจดีย์บรรจุก้อนหินที่ได้มาจากแม่น้ำสายหล ักๆ มาบรรจุไว้ และจะมีการประกอบพิธีทำบุญสืบชะตาให้กับชุมชนฯ ช่วงเดือนเมษายนของทุกปี

ใจบ้านเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของชาวบ้าน
สำหรับสิ่งศักดิ์สิทธิ์สำคัญอีกแห่งหนึ่งของชุมชนพระ พุทธบาทห้วยต้มก็คือ “วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม” วัด ที่ใหญ่ที่สุดของอ.ลี้ และเป็นวัดประจำชุมชนของชาวปกาเกอะญอ ภายในวัดมีอาณาบริเวณที่กว้างขวาง ภายในวัดมีศาสนสถานที่น่าสนใจมากมาย ไม่ว่าจะเป็นมณฑปพระเจ้าเก้าตื้อ ที่หลวงปู่ครูบาวงศ์ สร้างถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ มีลักษณะเป็นโดมมีหลังคา ภายในปิดกระจกเงารอบ ประดิษฐานพระพุทธรูปทองเหลืองปางมารวิชัยจำลองมาจากเ จ้าเก้าตื้อวัดสวนดอก จ.เชียงใหม่

มีวิหารครอบรอยพระพุทธบาทห้วยต้ม ที่ภายในบรรจุรอย พระพุทธบาท เมื่อครั้งที่องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จมา ณ ที่นี้หลวงปู่ครูบาวงศ์ได้สร้างรอยพระบาทจำลองครอบขอ งจริงไว้ มีพระประธาน ภปร. ภายในวิหาร มีวิหารพระเมืองแก้ว เป็นที่ประดิษฐานพระสรีระของหลวงปู่ครูบาวงศ์และจะมี ประเพณีแห่พระสรีระของหลวงปู่ฯ ทุกวันที่ 17 พ.ค. ของทุกปี

การสาธิตการทอผ้า
อีกทั้งยังมีพิพิธภัณฑ์ภายในมีรูปปั้นหุ่นขี้ผึ้งของหลวงปู่ และเครื่องอัฎฐบริขารทั้งหลาย มีมณฑปพระเขี้ยวแก้ว ภายในบรรจุพระธาตุเขี้ยวแก้ว พระแก้ว ตาและพระธาตุข้อพระหัตถ์ มีหอพระไตรปิฎกภายในบรรจุพระไตรปิฎกฉบับโบราณ มีพระอุโบสถงดงามศิลปะล้านนา และมีบ่อน้ำทิพย์ศักดิ์สิทธิ์

แต่ใช่ว่าสถานที่ท่องเที่ยวของชุมชนฯจะมีแต่ศาสนสถาน เท่านั้น เพราะยังมีสถานที่ท่องเที่ยวที่เกี่ยวข้องกับวัฒนธรร มและวิถีชีวิตของชาวปกา เกอะญอให้ได้ชมกันอีก อาทิ ศูนย์วิจัยหัตถกรรมพื้นบ้าน เป็นศูนย์รวมสินค้าของคนในชุมชน มีการสาธิตการทอผ้า เครื่องจักรสาน ผ้าทอมือ และเครื่องเงินจำหน่าย มีศูนย์พัฒนาโครงการหลวงวัดพระพุทธบาทห้วยต้ม และไปดูความเป็นอยู่ของชาวปกาเกอะญอที่บ้านโบราณกะเห รี่ยงน้ำบ่อน้อย

เรียกได้ว่าหากได้เดินทางมาเยือนยัง “ชุมชนบ้านพระบาทห้วยต้ม” แล้ว จะ ได้ซาบซึ้งไปกับวีถีชีวิต และวัฒนธรรมอันหลากหลายของชาวปกาเกอะญอที่มีความผูกพ ันต่อพระพุทธศาสนา ซึ่งถือเป็นเรื่องที่น่ายกย่องเป็นอย่างมาก



0 ความคิดเห็น:

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม