ประสบการณ์จริงและสิ่งที่เรียนรู้ 14 ข้อจากเหตุการณ์น้ำท่วม 2554


ประสบการณ์จากน้ำท่วม
ผมรวบรวมสิ่งที่เรียนรู้ จากน้ำท่วมครั้งนี้ มาบอกกล่าวครับ


1. อย่าเสียเวลากับการป้องกัน
หากบริเวณ บ้านของท่านอยู่ในพื้นที่เสี่ยง แต่ทางการประกาศว่าระดับน้ำอาจสูงถึง 1.5 เมตร อย่าได้เสียเวลากับการป้องกันเลยครับ ระดับน้ำที่มาถึงบ้านท่าน รับรองว่าจะต่ำกว่าหรืออาจจะสูงกว่าที่ทางการประเมิน


2. กระสอบทราบเป็นแค่เครื่องมือชะล
กระสอบทรายมิใช้แก้วสารพัดนึกครับ มันไม่สามารถกั้นน้ำได้ 100 % แค่ทำให้น้ำรั่ว หรือซึมเข้ามาได้บ้าง ท่านต้องมีการดูดออกด้วย


3. การวางงกระสอบทราย
เรา มิใช่มืออาชีย การจัดเรียงกระสอบทราย ต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญจริงๆๆ ผมกับเพื่อบ้าน หมดค่ากระสอบทรายไป 50,000 บาท สุดท้าน ก้อ ละลายน้ำ


4. อย่าได้เชื่อโครงการ
อัน นี้มิได้ต่อว่าโครงการนะครับ เพียงแค่ว่าเขาประเมินสถานการณ์ต่ำไป โครงการผมลงทุนน่าจะเป็นล้าน ตั้งคันดิน กระสอบทรายน่าจะกว่า 30,000 ใบ คันสูง 1.5 เมตร เครื่องสูบน้ำออกแบบตัวใหญ่ๆๆกว่า 3 ตัว


5. สิ่งที่เห็นอาจไม่ใช่ สิ่งที่ใช่ อาจไม่เห็น
น้ำ มิได้โจมตีจะภาคพื้นดินหรอกครับ มันมาจากใต้ดิน มันมุดกำแพงเข้ามา บางครั้งมันโพร่งให้เห็น แต่หากมันไม่โพร่งให้เห็น มันจะซึมลงท่อน้ำทิ้งของโครงการ เนื่องจากท่อน้ำทิ้งที่วางแนวไว้ นานเข้าจะเกิดการทรุดตัว แครก แตก ทำให้น้ำซึมเข้ามา จนกระทั้งเต็มท่อ โครงการมัวแต่อุดท่อที่ต่อกับภายนอก และไม่เห็นว่าท่อข้างในมีการรั่วซึม


6. การอุดท่อระบายน้ำเข้าบ้าน มิใช่การป้องกัน
ทุก สำนักจะบอกว่า ต้องอุดท่อระบายน้ำ ลองอ่านจากข้อสองครับ เราอาจจะรู้สึกว่าแน่นดี เอาอยู่ น้ำไม่ผ่าน แต่ที่จริง กระสอบทรายแค่ชะลอ ทำให้น้ำผ่านยากขึ้น และที่สำคัญ พวกบ้านเดียว มีพื้นที่สวน ใต้บ้านของท่านล้วนแล้วแต่เป็นโพรง น้ำจะแทรกตัวลงไปจนแน่นโพรงใต้พื้นแล้วจะผุดออกมาตามรอยแตกของบ้าน บางครั้งอาจจะดันกระเบื้องเข้าบ้านได้ แต่เหตุกาาณืนี้เกิดได้ค่อนข้างยาก


7. ห้องน้ำคือจุดอ่อนที่สุด
เมื่อ น้ำเต็มท่อระบาย จะหาทางออกมาทั้งน้ำทิ้งทางพื้นที่เรียกว่า Floor Drain รวมถึงชักโครก ซึ่งท่านไม่สามารถจะอุดได้ หากจะอุดจริงๆ ต้องถอดหัวชักโครกแล้วโบกปูน


8. อย่ามัวสาระวนกันการป้องกัน
เมื่อ น้ำบุกเข้ามาได้ ท่านจะพยายามลากกระสอบทรายมาปิด มาอุด ซึ่งไร้ประโยชน์ เอาเวลาไปตรวจสอบว่า เรามีอะไรยังไม่ได้ยกขึ้นที่สูงอีกบ้าง


9. ไม่ต้องสะสมเสบียง
เพราะหากปริมาณน้ำขนาดนี้ ท่านถูกตัดไฟแน่นอน แล้วจะอยู่อย่างๆไร ผมสะสมเสบียงอยู่ได้เกือบ 3 เดือน จบข่าวตั้งแต่วันแรกแล้ว


10. ก่อปูนเป็นทางออกที่เกือบใช่ แต่....
ไปดูข้อเจ็ดครับ หากท่านมั่นใจว่าสามารถสร้างระบบปิดในตัวบ้านท่านได้ ก็จงทำเถิด แต่หากไม่ใช่ อย่าเสียเวลา


11. ระดับความสูง
หาก ท่านเห็นน้ำขนาดนี้มาอีก ของที่ยกได้ ข้อให้ระดับไม่น้อยกว่า 1.5 เมตร หากจะเทินของก็ให้มั่นใจว่ากว่า บ้านผมสูงจากถนน 30 เซ็น ก่อปูนอีก ประมาณ 70 เซน สุดท้าย ไม่รอด


12. เก็บของสำคัญพร้อมหนี
อย่ามั่วเสียเวลาในการป้องกัน จัดกระเป๋าสำรองอีกใบ เพราะเวลาขันแน่นมาก (คับขัน) ท่านจะเก็บไม่ทัน ลืมโน่นลืมนี่
13. หากท่านผ่อนบ้าน จะถูกบังคับทำประกัน จงกลับไปอ่านอนุสัญญา บางบริษัทจะครอบคลุมน้ำท่วม หรือภัยที่มาจากน้ำ ท่านอาจจะได้เงินคมาจากการซ่อมบ้าน


14. บทสรุปครับ มีมากเจ็บมาก มีน้อย เจ็บน้อย
เท่า ที่คิดได้ครับ ใครมีอะไร สนับสนับสนุนได้ครับ ฝากไว้สำหรับคนที่กำลังจะวางแผน แต่ย้ำว่า สำหรับคนที่อยู่ในพื้นที่ที่ระดับน้ำสูงมากๆๆ หากท่านท่วมแค่ 30 - 50 เซนก้อป้องกันเถอะครับ





เรื่อง/ภาพ: สุเทพ เตมานุวัตร์

ที่มา: www.facebook.com/suitthep/posts/232995693423708

เรียบเรียง: www.SiamArsa.org




0 ความคิดเห็น:

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม